top of page

ประวัติเพลงลูกทุ่งไทย

จากเว็บ http://www.oknation.net/blog/greatsong/2012/02/20/entry-2

ยุคก่อนปี พ.ศ.๒๕๐๐

ก่อนปี พ.ศ.๒๕๐๐ เพลงไทยยังไม่มีการแบ่งแยกประเภทชัดเจนว่าเป็น เพลงลูกกรุง หรือลูกทุ่ง เพราะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการผสมผสานระหว่างดนตรีไทยเดิมกับดนตรีสากล ในระยะแรกคนที่ชอบทางไทยก็ฟังเพลงไทยเดิมจากเครื่องดนตรีไทย และแผ่นเสียงเพลงไทยเดิม ส่วนคนที่รับวัฒนธรรมตะวันตกก็ฟังแผ่นเสียงเพลงฝรั่ง ต่อมาจึงเกิดเพลงไทยแนวใหม่ที่ผสมแนวทางเพลงสากล

ในยุคนี้มีนักร้องที่โดดเด่นขึ้นมาจากละครเวทีและเวทีประกวดงานวัด ซึ่งยังไม่มีการแบ่งแยกว่าเป็นนักร้องประเภทลูกทุ่งและลูกกรุง เช่น พยงค์ มุกดา, สมยศ ทัศนพันธ์, เบญจมินทร์, ปรีชา บุณยเกียรติ, ชาญ เย็นแข, บุญช่วย หิรัญสุนทร, ล้วน ควันธรรม,  ทัศนัย ชะอุ่มงาม, คำรณ สัมปุณณานนท์ ซึ่งต่อมาได้ยกย่องกันว่า คำรณ สัมปุณณานนท์ คือบิดาแห่งเพลงลูกทุ่งไทย

คำรณ สัมปุณณานนท์

พ.ศ.๒๔๗๔

พรานบูรพ์ (จวงจันทร์ จันทร์คณา) เป็นผู้ริเริ่มเขียนเพลงไทยแบบใหม่ โดยได้ตัดทอนลูกเอื้อนของเพลงไทยเดิม แล้วใส่เนื้อร้องเข้าไปแทนที่ช่วงเอื้อน กลายเป็นเพลงไทยแนวใหม่ เริ่มจากใช้ร้องในคณะละคร และละครเรื่องจันทร์เจ้าขา แต่งโดยพรานบูรพ์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพลงเอกของเรื่องคือเพลง จันทร์เจ้าขา

พรานบูรพ์ (จวงจันทร์ จันทร์คณา)

พ.ศ.๒๔๗๘-๒๔๘๑

การประกวดร้องเพลงตามงานวัดเป็นที่เฟื่องฟู เพลงที่นิยมนำไปร้องแข่งขันเป็นเพลงไทยแนวใหม่ที่ผสมแนวเพลงสากล จึงเรียกว่า เพลงไทยสากล

วัดที่ได้ชื่อว่าเป็นเวทีอันดับ ๑ ของการแข่งขันประกวดร้องเพลงคือ วัดสระเกศ ใครชนะเลิศจากเวทีนี้จะกลายเป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงและได้บันทึกแผ่นเสียงแทบทุกคน

พ.ศ.๒๔๘๒

ภาพยนตร์ที่มีเพลงประกอบได้รับความนิยมมาก ทั้งของบริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง และบริษัทภาพยนตร์ไทยฟิล์ม และอีกหลายบริษัท เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องแผลเก่า บทประพันธ์ไม้เมืองเดิม จากฝีมือการแต่งเพลงของ พรานบูรพ์ คือเพลงขวัญของเรียม ถือได้ว่าเป็นเพลงลีลาลูกทุ่งเพลงแรกของไทย ขณะนั้นการสร้างภาพยนตร์เป็นขนาด ๑๖ มม.

ต่อมามีเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง ลูกทุ่ง ซึ่งเป็นภาพยนตร์ขนาด 35 มม. ชื่อเพลงต้อนกระบือ ผลงานเพลงของ ม.ล.พวงร้อย สนิทวงศ์ กับพระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) เป็นเพลงลีลาลูกทุ่ง 

พ.ศ.๒๔๘๔

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีเพลงบ้านไร่นาเรา ขับร้องโดย ร.อ.ทวี จุลละทรัพย์ (ยศขณะนั้น) คู่กับ อารีย์ ปิ่นแสง (นางสาวสยามปีนั้น) แต่งโดยขุนวิจิตรมาตรา และพระเจนดุริยางค์ ซึ่งเป็นเพลงแนวลูกทุ่งอีกเพลงหนึ่ง

พ.ศ.๒๔๙๒

เริ่มมีการบันทึกแผ่นเสียงเป็นแผ่นครั่ง มีเพลงเกิดขึ้นมากมาย ทั้งเพลงแนวลูกทุ่งและไทยสากล เช่นเพลงเดียวดาย เสียงร้องสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ มนต์เมืองเหนือ เสียงร้องสมยศ ทัศนพันธ์ และเพลงค่าน้ำนม เสียงร้องชาญ เย็นแข

พ.ศ.๒๔๙๖

เกิดเพลงต้องห้ามเพลงแรกของเมืองไทย คือเพลงกลิ่นโคลนสาบควาย เสียงร้องชาญ เย็นแข แต่งโดยครูไพบูลย์ บุตรขัน แต่ปรากฎว่าแผ่นเสียงเป็นที่ต้องการของนักฟังเพลงอย่างมาก จนต้องผลิตหลายครั้ง

สุรพล สมบัติเจริญ ซึ่งภายหลังได้รับยกย่องให้เป็นราชาเพลงลูกทุ่ง บันทึกเสียงเพลงแรกด้วยเพลง น้ำตาลาวเวียง แต่ยังไม่มีชื่อเสียงนัก แต่มีเพลงเด่นคือเพลง ชูชกสองกุมาร

พ.ศ.๒๔๘๘-๒๕๐๐

เกิดน้กร้องเด่นๆอีกหลายราย เช่น ผ่องศรี วรนุช, วงจันทร์ ไพโรจน์, ทูล ทองใจ, พร ภิรมย์, ก้าน แก้วสุพรรณ

ยุคแรกของดนตรีสากลในประเทศไทย

ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ไทยเริ่มรับอิทธิพลด้านดนตรีตะวันตก จากการจัดตั้งวงแตรวงของทหารหลายหน่วย ทั้งในวังหลวงและวังหน้า โดยมีครูสอนดนตรีเป็นชาวยุโรปหลายคน

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงก่อตั้งกองแตรวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง มีหน้าที่บรรเลงเป็นกองเกียรติยศในงานพระราชพิธีต่างๆ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกองแตรวงทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์) และได้มีการประพันธ์เพลงชาติโดยใช้ทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมีของอังกฤษ

สมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนาวงเครื่องสายฝรั่งหลวงขึ้น ด้วยการจ้างครูฝรั่งมาฝึกสอน ภายหลังโปรดเกล้าให้ขุนเจนรถรัฐมาควบคุมวงแทน ต่อมาขุนเจนรถรัฐได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระเจนดุริยางค์ นับได้ว่าพระเจนดุริยางค์เป็นบิดาแห่งดนตรีไทยสากล เพราะเป็นทั้งผู้แต่งทำนองเพลงชาติที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เป็นผู้เขียนตำราวิชาการดนตรีเป็นคนแรก และเป็นผู้อบรมสั่งสอนศิษย์ ซึ่งต่อมากลายเป็นครูเพลง ผู้แต่งทำนองเพลง แต่งเนื้อร้อง หัวหน้าวงดนตรีและนักดนตรี ที่สืบสานและพัฒนาดนตรีไทยสากลสืบต่อกันเรื่อยมา

พ.ศ.๒๓๙๕

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้จ้างครูชาวฝรั่งเศษและชาวอังกฤษ มาสอนตรีให้ทหารแตรกองทัพไทย จึงมีการบรรเลงดนตรีโดยใช้เครื่องดนตรีสากล แต่เล่นเพลงไทยเดิมเป็นสำคัญ เพราะนักดนตรีส่วนใหญ่เล่นและร้องเพลงไทยเดิมอยู่ก่อน

พ.ศ.๒๔๑๔

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ประพันธ์คำร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี โดยใช้ทำนองเพลง God Save The Queen หรือเพลงสรรเสริญพระบารมีของอังกฤษที่ใช้กันมาแต่เดิม นับว่าเป็นเพลงชาติไทยเพลงแรก ต่อมาได้นำเพลงบุหลันลอยเลื่อนมาดัดแปลงเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมี นับเป็นเพลงชาติเพลงที่ ๒

พ.ศ.๒๔๓๑

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงนิพนธ์คำร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยใช้ทำนองของ ปโยตร์ สชูโรฟสกี้ ชาวรัสเซีย นับว่าเป็นเพลงชาติฉบับที่ ๓

พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)

พระยาศรีสุนทรโวหา

พ.ศ.๒๔๔๖                                                                                                                                               

สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์กรมพระนครสวรรค์วรพินิต สำเร็จการศึกษาต่อในยุโรป เมื่อเสด็จกลับมาได้ทรงก่อตั้งวงปี่พาทย์วังบางขุนพรหมขึ้น ประกอบไปด้วยนักดนตรีไทยฝีมือเยี่ยม ทรงนิพนธ์เพลงแบบฝรั่งแท้ และเพลงไทยทำนองฝรั่ง ซี่งล้วนเป็นบทเพลงไพเราะไว้หลายเพลง ถือเป็นแม่แบบของเพลงไทยสากลในสมัยต่อมา เช่นเพลง สุดเสนาะ มหาฤกษ์ สรรเสริญเสือป่า คลื่นกระทบฝั่ง มาร์ชบริพัตร วอลซ์บริพัตร วอลซ์ปลื้มจิต เพลงเหล่านี้ไม่มีคำร้อง ใช้บรรเลงด้วยวงโยธวาทิต

โดยเฉพาะเพลงวอลซ์ปลื้มจิตนั้นถือว่าเป็นเพลงไทยสากลเพลงแรกในประวัติดนตรีของเมืองไทย

พ.ศ.๒๔๕๑

พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงดัดแปลงละครมาเลย์บังสาวัน มาเป็นละครร้องแบบใหม่โดยมีเครื่องปี่พาทย์ไม้นวมและไม้แข็งประกอบ และทรงสร้างโรงละครแห่งใหม่ที่ตรอกแพร่งนรา บางลำพู ชื่อโรงละครปรีดาลัย ละครร้องเรื่อง "สาวเครือฟ้า" ได้รับความนิยมมาก

กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

พ.ศ.๒๔๕๕

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาวงเครื่องสายฝรั่งหลวงสังกัดกระทรวงวังขึ้น และจ้างครูดนตรีชาวอิตาเลียนมาเป็นผู้ฝึกสอน แต่ไม่ค่อยได้ผลเพราะนักดนตรีแต่ละคนล้วนสูงอายุ และไม่สันทัดเครื่องดนตรีตะวันตก อีกทั่งไม่มีความรู้ในภาษาต่างประเทศ ส่วนครูผู้สอนก็พูดภาษาไทยไม่ได้ ทำให้มีปัญหาด้านการสื่อความ

พ.ศ.๒๔๕๖

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ โปรดให้จ้างโปรเฟสเซอร์ อัลแบร์โต นาซารี มาสอนแทน มร.ยาคอบ ไฟต์ ที่ถึงแก่กรรม ต่อมาเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ขึ้นในยุโรป โปรเฟสเซอร์ อัลแบร์โต นาซารี กลับมาตุภูมิ ทำให้นักดนตรีเกิดความระส่ำระสาย ผู้บัญชาการกรมมหรสพได้กราบบังคมทูลให้ยุบวงเสีย

พ.ศ.๒๔๖๐

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้ขุนเจนรถรัฐ (บุตรของ มร.ยาคอบ ไฟต์) เข้ามารับผิดชอบดูแลวงเครื่องสายฝรั่งหลวง โดยฝึกสอนและปรับปรุงจนวงมีความสามารถเล่นดนตรีสากลดีขึ้นตามลำดับ

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้ตั้งโรงเรียนพรานหลวง เพื่อรับผู้ที่มีความสนใจและมีความสามารถด้านดนตรี ทั้งดนตรีไทยเดิมและดนตรีสากลเข้าศึกษา โดยมีพระเจนดุริยางค์เป็นผู้ฝึกสอน โดยด้านเพลงสากลนั้นมีผู้ที่เข้ารับการศึกษาและภายหลังได้เป็นผู้สร้างงานเพลงไทยสากลไว้เป็นจำนวนมาก เช่น ล้วน ควันธรรม, นารถ ถาวรบุตร, เอื้อ สุนทรสนาน, สง่า อารัมภีร, จำปา เล้มสำราญ, ไสล ไกรเลิศ, สิริ ยงยุทธ, แมนรัตน์ ศรีกรานนท์, พิมพ์ พวงนาค, ร.อ.เมย์ เอื้อเฟื้อ, สมพงษ์ ทิพยะกลิน, แก้ว อัจฉริยะกุล, สุรพล แสงเอก, ชลหมู่ ชลานุเคราะห์, เวส สุนทรจามร, สมาน กาญจนะผลิน, สกนธ์ มิตรานนท์

ขุนเจนรถรัฐได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงเจนดุริยางค์ และพระราชทานนามสกุลว่า "วาทยะกร" อีกสี่ปีต่อมาได้เป็นพระเจนดุริยางค์

พ.ศ.๒๔๗๓

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มอบหมายให้พระเจนดุริยางค์เป็นหัวหน้าคณะจดโน๊ตเพลงไทยเดิมให้เป็นโน๊ตสากล มีนักดนตรีที่มีความรู้ความสามารถทางดนตรีไทยและสากลร่วมงานด้วยหลายท่าน

พ.ศ.๒๔๗๕

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง วงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวงถูกโอนไปสังกัดกรมศิลปากร เรียกว่า "วงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร" พระเจนดุริยางค์ไปช่วยราชการที่กองดุริยางค์ทหารอากาศจนเกษียณอายุ แล้วจึงกลับมาช่วยงานที่กรมศิลปากรอีกครั้ง

สำหรับกองแตรวงทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ได้ย้ายไปสังกัดจังหวัดทหารบกกรุงเทพฯ เรียกว่า กองแตรวงทหารบกกรุงเทพฯ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "วงดุริยะโยธิน"

 

บรมครูเพลง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์)

 

เพชรัตน์ (สมประสงค์ รัตนทัศนีย์)

 

หม่อมหลวงพวงร้อย สนิทวงศ์

 

พรานบูรพ์ (จวงจันทร์ จันทร์คณา)

 

ครูเพลง

 

 

นารถ ถาวรบุตร

 

ล้วน ควันธรรม

 

เวส สุนทรจามร

 

ไพบูลย์ บุตรขัน

 

ร้อยแก้ว รักไทย

 

เนียน วิชิตนันท์

 

เอื้อ สุนทรสนาน

 

แก้ว อัจฉริยะกุล

 

เบญจมินทร์

 

ไสล ไกรเลิศ

 

พยงค์ มุกดา

 

มงคล อมาตยกุล

 

นักร้องอมตะ

 

เบญจมินทร์

 

บุญช่วย หิรัญสุนทร

 

ชาญ เย็นแข

 

ชรินทร์ นันทนาคร

 

นริศ อารีย์

 

เพ็ญศรี พุ่มชูศรี

 

สุเทพ วงศ์กำแหง

 

ก้าน แก้วสุพรรณ

 

พร ภิรมย์

 

ปรีชา บุณยเกียรติ

 

คำรณ สัมบุณณานนท์

 

ทัศนัย ชะอุ่มงาม

 

ผ่องศรี วรนุช

 

ปอง ปรีดา

 

ทูล ทองใจ

 

มัณฑนา โมรากุล

 

วงจันทร์ ไพโรจน์

 

วินัย จุลละบุษปะ

 

สมจิต ตัดจินดา

 

สุรพล สมบัติเจริญ

 

เอื้อ สุนทรสนาน

 

ยุคแผ่นเสียงทองคำและศิลปินแห่งชาติ

 

ป.วรา นนท์ นักจัดรายการเพลงประจำสถานีวิทยุกองพลที่ ๑ เป็นผู้ริเริ่มการจัดอันดับเพลงไทยสากลยอดนิยมประจำสัปดาห์ขึ้น เพื่อสนับสนุนให้นักแต่งเพลง นักดนตรี นักร้อง และผู้เกี่ยวข้องกับวงการเพลงตื่นตัวที่จะพัฒนาและสร้างผลงานเพลงที่ดี ต่อมามีการเพิ่มเติมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกหลายท่านเพื่อทำการคัดเลือก เพลงและนักร้องดีเด่น ผู้ที่ชนะเลิศจะได้เข้าเฝ้าเพื่อรับพระราชทานรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันเป็นเกียรติยศสูงสุดของศิลปินเพลง 

รางวัล แผ่นเสียงทองคำพระราชทานจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๐๗ การจัดประกวดเพลงแผ่นเสียงทองคำพระราชทานดำเนินการได้สามครั้งก็ยุติลง ต่อมามีการฟื้นฟูการจัดประกวดเพลงขึ้นใหม่เรียกชื่อว่า รางวัลเสาอากาศทองคำ เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘

ในปี พ.ศ.๒๕๒๙ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้ดำเนินการคัดเลือกบุคคลที่มีผลงานดีเด่นด้าน เพลงและการแสดง ขึ้นเป็นศิลปินแห่งชาติ บุคคลท่านแรกที่ได้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง(ดนตรีสากล) คือท่านผู้หญิงพวงร้อย สนิทวงศ์ (อภัยวงศ์)

พ.ศ.๒๕๐๗

การ จัดงานแผ่นเสียงทองคำพระราชทานครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม มีการแบ่งรางวัลเพลงไทยสากลลูกกรุงออกเป็นสองประเภทคือ ประเภท ก. (เพลงที่คณะกรรมการคัดเลือก) ได้แก่เพลง มารหัวใจ รักเอย ใจพี่ และประเภท ข. (เพลงที่ส่งประกวด) ได้แก่เพลง ใครหนอ วิหคเหิรลม

พ.ศ.๒๕๐๙

การ จัดงานแผ่นเสียงทองคำพระราชทานครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ นอกจากเพลงไทยสากลลูกกรุง ประเภท ก และ ข มีการเพิ่มรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานเพลงไทยลูกทุ่ง มีเพลงที่ได้รับรางวัลได้แก่เพลง รักเธอเสมอ (สมศักดิ์ เทพานนท์) ดาวประดับเมือง (สวลี ผกาพันธ์) ยามชัง (ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา) รักใครไม่เท่าน้อง (ทูล ทองใจ) กลับบ้านเถิดพี่ (ผ่องศรี วรนุช)

พ.ศ.๒๕๑๐

มีการก่อตั้งสมาคมดนตรีแห่งประเทศในพระบรมราชูปถัมป์ มีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ เป็นนายกสมาคมคนแรก

พ.ศ.๒๕๑๒

วง ดนตรีสุนทราภรณ์มีอายุครบ ๓๐ ปี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ครูเอื้อ สุนทรสนาน นำนักร้องและนักดนตรีทั้งคณะเข้าเฝ้าเพื่อรับพระราชทานเหรียญเสมาทองคำ และธง ภปร.ประจำวงดนตรี

ครูเอื้อ สุนทรสนาน ก่อตั้งโรงเรียนสุนทราภรณ์การดนตรี

พ.ศ.๒๕๑๕

วัน ที่ ๒๐ พฤศจิกายน จัดงานแผ่นเสียงทองพระราชทานครั้งที่ ๓  เพลงที่ได้รับรางวัลได้แก่เพลง คืนหนึ่ง(สุเทพ วงศ์กำแหง-สวลี ผกาพันธ์) นางรอง(ทูล ทองใจ) หากรู้สักนิด (ธานินทร์ อินทรเทพ) แล้วการจัดงานแผ่นเสียงทองคำพระราชทานก็ต้องยุติลงเนื่องจากไม่มีผู้ใด ดำเนินการต่อ

พ.ศ.๒๕๑๘

สถานี วิทยุเสียงสามยอด (ส.ส.ส.) มี พ.ต.อ.พจน์ บุญยะจินดา เป็นหัวหน้าสถานี ร่วมกับสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย จัดงานเสาอากาศทองคำครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘ เพลงไทยลูกกรุงที่ได้รับรางวัลคือเพลง เพียงคำเดียว (สุเทพ วงศ์กำแหง) อย่ามารักฉันเลย (เพ็ญศรี พุ่มชูศรี)

พ.ศ.๒๕๑๙

งาน เสาอากาศทองคำครั้งที่ ๒ เพลงไทยลูกกรุงที่ได้รับรางวัลคือเพลง คนหน้าเดิม (รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส) ข้าวนอกนา (ฉันทนา กิตติยพันธ์) ฝากเพลงถึงเธอ (ธานินทร์ อินทรเทพ) ต่อมาการจัดงานเสาอากาศทองคำยุติลงเนื่องจาก พ.ต.อ.พจน์ บุญยะจินดา หน้าที่ราชการก้าวหน้าทำให้ไม่มีเวลามาดำเนินงาน และไม่มีผู้ใดมารับงานต่อ

พ.ศ.๒๕๒๒

เพลงบัวขาว จากผลงานการประพันธ์ของท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ (สนิทวงศ์) ได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก ให้เป็นเพลงแห่งเอเซีย

พ.ศ.๒๕๒๓

สมาคม ดนตรีฟื้นฟูการจัดงานแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน เป็นครั้งที่ ๔ เพลงไทยลูกกรุงที่ได้รับรางวัลคือเพลง เท่านี้ก็ตรม (สุเทพ วงศ์กำแหง) อย่าสงสารฉันเลย (รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส)

พ.ศ.๒๕๒๖

จัด งานแผ่นเสียงทองคำครั้งที่ ๕ เป็นครั้งสุดท้าย เพลงไทยลูกกรุงที่ได้รับรางวัลคือเพลง สุดเหงา (ทิพย์วรรรณ ปิ่นภิบาล) ลมรัก (เดอะ ฮอตเป็บเปอร์ ซิงเกอร์ส)

พ.ศ.๒๕๒๙

คณะ กรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ประกาศให้ท่านผู้หญิงพวงร้อย สนิทวงศ์ (อภัยวงศ์) เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง(ดนตรีสากล) เป็นท่านแรก ต่อมามีการมอบรางวัลศิลปินแห่งชาติมาจนกระทั่งปัจจุบัน

ยุคไทยทีวีช่อง ๔ บางขุนพรหม

วัน ที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ มีการจัดตั้งบริษัทไทยโทรทัศน์ขึ้น โดยมีพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ เป็นประธานกรรมการ โดยตั้งสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง ๔ อยู่ที่สี่แยกบางขุนพรหม มีจำนง รังสิกุล เป็นหัวหน้าฝ่ายจัดรายการ และมีสรรพศิริ  วิรยศิริ เป็นผู้บุกเบิกงานด้านการข่าว พร้อมกันนี้ได้ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงอยู่ที่สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน

 

ไทยทีวีช่อง ๔ บางขุนพรหม

ใน ระยะแรกเปิดออกอากาศวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และเสาร์ ส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์สารคดีที่ยืมมาจากสำนักข่าวสารอเมริกัน ต่อมามีการนำวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์มาแสดงออกอากาศและมีการแสดงละครเพลงชุด สั้นๆ นอกจากนี้วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ยังร่วมทำเพลงประกอบให้กับคณะละครนาฎศิลป์ สัมพันธ์ ละครที่โด่งดังคือ แผลเก่าและขุนศึก จากบทประพันธ์ของไม้เมืองเดิม

ต่อ มาสวลี ผกาพันธ์ จัดตั้งชื่นชุมนุมศิลปินเพื่อจัดรายการเพลงและแสดงละครโทรทัศน์ เช่น บ้านทรายทอง หนึ่งในร้อย เงาะป่า แผ่นดินของเรา โดยมีดารานำได้แก่ ฉลอง สิมะเสถียร, กัณฑรีย์ นาคประภา, ทัต เอกทัต, สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย, มนัส บุณยเกียรติ และมีนักร้องที่มีชือเสียงมาร่วมรายการหลายคน เช่น นริศ อารีย์, ชรินทร์  นันทนาคร, สุเทพ วงศ์กำแหง, พูนศรี เจริญพงษ์

 

ฉลอง สิมะเสถียร และกัณฑรีย์ นาคประภา ร่วมกันจัดรายการเพลงหลายรายการ เช่น รายการเพลงกล่อมจิต รายการเพลงมิตรกล่อมใจ รายการเพลงแห่งความหลัง

พ.ศ.๒๕๐๐

จอม พล ป.พิบูลสงคราม ถูกยึดอำนาจโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศพร้อมอัศวินคู่ใจคือ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ทำให้วงดนตรีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และวงดนตรีประสานมิตรที่ พลตำรวจเอกเผ่าดูแลอยู่ต้องยุบวง ครูนารถ ถาวรบุตร หัวหน้าวงดนตรีสำนักงานทรัพย์สินฯไปเป็นหัวหน้าวงดนตรียาสูบ

พ.ศ.๒๕๐๑

จำนรรจ์ กุลฑลจินดา รวบรวมนักดนตรี่จากวงดนตรีประสานมิตร เช่น ประสิทธิ์ พยอมยงค์, สมาน กาญจนะผลิน, ไพบูลย์ ลีสุวัฒน์, ม.ร.ว.พรพุฒิ วรวุฒิ ตั้งวงดนตรีกรรณเกษมขึ้น มีนักร้องได้แก่ สุเทพ วงศ์กำแหง, เพ็ญแข กัลย์จารึก, สวลี ผกาพันธ์, ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา

พ.ศ.๒๕๐๒

วงดนตรีสุนทราภรณ์มีอายุครบ ๒๐ ปี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งวง

บุษยา รังสี เข้าร่วมวงดนตรีสุนทราภรณ์ และมีชื่อเสียงด้วยเพลง นำตาดาว สั้งไทร ฝากหมอน

พ.ศ.๒๕๐๓

ธนาคารออมสินตั้งวงดนตรี โดยมี เล็ก ชะอุ่มงาม และสมาน กาญจนะผลิน ควบคุมวง

พ.ศ.๒๕๐๖

เมื่อ วงดนตรีกรรณเกษมยุบวงลง ไพบูลย์ ลีสุวัฒน์ และแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ ร่วมกันก่อตั้งวงดนตรีคีตะวัฒน์ มีนักร้องนำได้แก่ เพ็ญแข กัลย์จารึก, ศรีไสล สุชาติวุฒิ, วงจันทร์ ไพโรจน์, สุเทพ วงศ์กำแหง, ปรีชา บุณยเกียรติ, ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา จุดเด่นของวงคีตะวัฒน์คือการบรรเลงเพลงสากลสำหรับเต้นรำ เล่นประจำอยู่ที่ซาวอยไนท์คลับ ได้มีโอกาสเล่นประชันกับวงสุนทราภรณ์ตามงานใหญ่ๆเสมอ

ต่อ มาชัยยุทธ เวชสวรรค์ นักดนตรีในวงดนตรีคีตะวัฒน์ แยกตัวออกมาก่อตั้งวงดนตรีซูซีวองคอมโบ้ เล่นประจำที่ซูซีวองไนท์คลับ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวงดนตรีเวชสวรรค์ มีนักร้องประจำวงได้แก่ สุเทพ วงศ์กำแหง, ธานินทร์ อินทรเทพ, สวลี ผกาพันธ์, คณะสามศักดิ์, จินตนา สุขสถิตย์

พ.ศ.๒๕๐๗

มีการแบ่งแยกประเภทเพลงออกเป็น เพลงลูกกรุง และเพลงลูกทุ่ง โดยจำนง รังสิกุล ผู้อำนวยการฝ่ายจัดรายการและโฆษณาไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม ตาม ลักษณะเนื้อและทำนองเพลง และตามบุคลิกของนักร้อง แต่ก็มีนักร้องบางท่านและเพลงอีกหลายเพลงที่แยกได้ยากว่าเป็นลูกกรุงหรือ ลูกทุ่ง เช่น สมยศ ทัศนพันธ์, ชาญ เย็นแข, ลัดดา ศรีวรนันท์ ซึ่งเรื่องนี้แม้แต่ครูไพบูลย์ บุตรขัน ก็เคยกล่าวไว้ว่า "ไม่ทราบว่าผู้ทำการแยกประเภทเพลงออกเป็นลูกทุ่งหรือลูกกรุง ใช้หลักเกณฑ์อะไร เพราะมีนักร้องที่เรียกกันว่านักร้องลูกกรุงก็นำเพลงของครูไพบูลย์ ที่เขียนออกมาในลักษณะที่ถูกกะเกณฑ์ว่าที่เป็นเพลงลูกทุ่งไปร้องกันมากมาย"

ยุคละครเวทีและเพลงประกอบภาพยนตร์

เมื่อ สงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลง การสร้างภาพยนตร์ยังไม่ฟื้นตัว ทำให้ละครเวทีเป็นที่นิยมและเกิดคณะละครขึ้นหลายคณะ เช่น อัศวินการละคร เทพศิลป์ วิจิตรเกษม ผกาวลี ชื่นชุมนุมศิลปิน โดยจัดแสดงในโรงภาพยนตร์ต่างๆ ในการแสดงก็จะมีวงดนตรีบรรเลงประกอบด้วย ละครบางเรื่องก็มีเพลงประกอบในเรื่องด้วย นอกจากนี้ก็มีการร้องเพลงสลับหน้าม่านเมื่อละครเปลี่ยนฉาก ซึ่งทำให้นักร้องในยุคนั้นได้มีโอกาสแสดงผลงานด้วย

ต่อมาการสร้าง ภาพยนตร์ฟื้นตัวขึ้นมีการสร้างภาพยนตร์ ๓๕ มม. ทำให้ละครเวทีซบเซาลงจนกระทั่งคณะละครต้องปิดตัวลง ภาพยนตร์ในยุคนี้เป็นระบบซูเปอร์เซนีม่าสโคป เสียงในฟิล์ม และมักจะมีเพลงประกอบภาพยนตร์เกือบทุกเรื่อง

พ.ศ.๒๔๙๐

ล้วน ควันธรรม ตั้งวงดนตรีแบบแชมเบอร์มิวสิค แสดงประจำที่ศาลาเฉลิมกรุง

พ.ศ.๒๔๙๒

ละคร เวทีเรื่องจุฬาตรีคูณ บทประพันธ์ของพนมเทียน (ขณะนั้นอายุ ๑๖ ปี)เปิดการแสดงที่ศาลาเฉลิมไทย นำแสดงโดย ฉลอง สิมะเสถียร, มัณฑนา โมรากุล, สวลี ผกาพันธ์, ชาลี อินทรวิจิตร โดยมีครูแก้ว อัจฉริยะกุล และครูเอื้อ สุนทรสนาน แต่งเพลงประกอบ ทั้งละครและเพลงประกอบประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง กลายเป็นอมตะมาจนทุกวันนี้

ในช่วงนั้นละครเวทีเฟื่องฟูมาก มีการแสดงละครหลายเรื่องและมีเพลงประกอบที่มีความไพเราะ อีกทั้งยังเพลงสลับ หน้าม่านที่ไพเราะเกิดขึ้นอีกหลายเพลง เพลงที่ได้รับความนิยมอย่างมากคือ เพลง เดียวดาย ขับร้องโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, เพลงค่ำแล้วในฤดูหนาว ขับร้องโดยล้วน ควันธรรม, เพลงอ้อมอกแม่ ขับร้องโดยบุญช่วย หิรัญสุนทร

พ.ศ.๒๔๙๓

ภาพยนตร์ เรื่องสุภาพบุรุษเสือไทยมีเพลงรำวงลอยกระทง แต่งคำร้องโดยครูแก้ว อัจฉริยะกุล ทำนองโดยครูเอื้อ สุนทรสนาน ซึ่งยังคงเป็นอมตะมาตราบทุกวันนี้

 

พ.ศ.๒๔๙๔

มี การสร้างภาพยนตร์หลายเรื่องและเกิดเพลงประกอบที่ไพเราะขึ้นมากมาย เช่นเรื่อง บ้านทรายทองมีเพลงหากรู้สักนิด ขับร้องโดยสวลี ผกาพันธ์ เรื่องร่มฟ้าเวียงพิงค์มีเพลงวังบัวบาน ขับร้องโดยมัณฑนา โมรากุล เรื่องลุ่มเจ้าพระยามีเพลงลุ่มเจ้าพระยา ขับร้องโดยสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์

พ.ศ.๒๔๙๕

กรม โฆษณาการเปลี่ยนชื่อเป็นกรมประชาสัมพันธ์ โดยมีพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ เป็นอธิบดีคนแรก จึงเปลี่ยนชื่อวงดนตรีกรมโฆษณาการเป็น "วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์" และได้ศรีสุดา รัชตะวรรณ, สมศักดิ์ เทพานนท์, พูนศรี เจริญพงษ์ และวรนุช อารีย์ เข้ามาเป็นสมาชิกวง

พ.ศ.๒๔๙๖

ครู เอื้อ สุนทรสนาน นำทำนองเพลงไทยเดิมมาดัดแปลงเข้ากับเพลงไทยสากลร่วมกับครูพุ่ม บาปุยะวาทย์ เรียกว่า "เพลงสังคีตสัมพันธ์" ตามนโยบายของพลโทหม่อมหลวงขาบ กุญชร อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์คนใหม่

พันตำรวจเอกพุฒ บูรณสมภพ นายตำรวจคนสนิทของพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ตั้งวงดนตรีประสานมิตร มีนักดนตรีฝีมือดีเข้าร่วมหลายคนเช่น สมาน กาญจนะผลิน, ประสิทธิ์ พยอมพยงค์, อุโฆษ จันทร์เรือง มีนักแต่งเพลงหลายท่านเช่น ครูแก้ว อัจฉริยะกุล, ครูป.ชื่นประโยชน์, ครูไสล ไกรเลิศ

พ.ศ.๒๔๙๗

รวงทอง ทองลั่นทม เข้าเป็นสมาชิกวงดนตรีสุนทราภรณ์ และมีชื่อเสียงมากจากเพลงขวัญใจเจ้าทุย และเพลงจำได้ไหม

ยุคธุรกิจยึดวงการเพลง

วง การเพลงลูกทุ่งตั้งแต่ยุคต้นๆ จนมาถึงยุคเพลงประกอบภาพยนตร์ อยู่กันอย่างพี่น้องเพื่อนฝูง ยังไม่มีระบบนายทุนและธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องมากนัก การก่อตั้งวงดนตรีก็เป็นการลงทุนร่วมกันของคนในวง และอาจมีผู้อุปถัมภ์บ้าง ส่วนการบันทึกแผ่นเสียงของนักร้องก็ขึ้นอยู่กับหัวหน้าวงและครูเพลงพิจารณา ถึงความเหมาะสมของแนวเพลง ในยุคต้นๆเป็นการบันทึกเป็นแผ่นครั่ง ต่อมามีการบันทึกเป็นแผ่นเสียงลองเพลย์สปีด 33 และแผ่นขนาด 7 นิ้ว สปีด 45 (หรือแผ่นซิงเกิ้ล ซี่งนิยมใช้ตามสถานีวิทยุในสมัยก่อน) ซึ่งนักร้องที่ยังไม่มีชื่อเสียงมักจะบันทึกเสียงเป็นแผ่นซิงเกิ้ลก่อนเพราะ ลงทุนไม่มากนัก หากเพลงประสบความความสำเร็จจึงจะบันทึกเป็นแผ่นลองเพลย์ต่อไป

แต่หลัง จากปี พ.ศ.๒๕๑๕ มีนักธุรกิจเข้ามาหาผลประโยชน์จากวงการเพลงมากขึ้น วงดนตรีลูกทุ่งหลายวงต้องอยู่ใต้อำนาจทุนของนักธุรกิจ ซึ่งจะสั่งให้ครูเพลงแต่งเพลงออกมาในแนวใดที่จะทำกำไรให้ธุรกิจ นักแต่งเพลงจะไม่สามารถแต่งเพลงตามแนวถนัดของตนเองและเลือกนักร้องที่เหมาะ สมกับเพลงมาร้องบันทึกเสียงได้ หรือนักธุรกิจเพลงอาจจะจ้างนักแต่งเพลงหน้าใหม่มาแต่งเพลงให้เพื่อลดค่าใช้ จ่าย แล้วใช้การโปรโมทเพื่อให้เทปเพลงหรือซีดีเพลงขายได้

พ.ศ.๒๕๑๕

๒๙ สิงหาคม ๒๕๑๕  ครูไพบูลย์ บุตรขัน คีตกวีลูกทุ่งผู้ยิ่งใหญ่เสียชีวิต นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของวงการเพลง

 

ครูไพบูลย์ บุตรขัน

ศร คีรี ศรีประจวบ ซึ่งกำลังโด่งดังประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ค่ายเพลงต่างๆพยายามปั้นนักร้องใหม่ขึ้นมาทดแทน นักร้องเด่นๆในช่วงนี้คือ สายัณห์ สัญญา, ยอดรัก สนักใจ, ศรเพชร ศรสุพรรณ, พุ่มพวง ดวงจันทร์, สดใส ร่มโพธิ์ทอง, สุรชัย สมบัติเจริญ, น้ำอ้อย พรวิเชียร, อรอุมา สิงห์ศิริ, รักชาติ ศิริชัย, แสงสุรีย์ รุ่งโรจน์, เสกศักดิ์ ภู่กันทอง, จีรพันธ์ วีระพงษ์, ชายธง ทรงพล

 

ศรคีรี ศรีประจวบ

นักร้องบางคนตั้งวงดนตรีโดยมีนายทุนเป็นผู้ลงทุนและควบคุมดูแล รายได้ของนักร้องขึ้นอยู่กับนายทุนจะแบ่งผลประโยชน์ให้

พ.ศ.๒๕๒๑

รัฐบาล ประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองลิขสิทธิ์ ทำให้นักแต่งเพลงและนักร้องได้รับรายได้มากขึ้น (แต่ก็ยังไม่มากพอที่จะทำให้นักแต่งเพลงและนักร้องร่ำรวย) ซึ่งทำให้ต้นทุนของเพลงที่บันทึกลงเทปคาสเส็ดสูงขึ้น นักธุรกิจเพลงจึงนำแผนการตลาดเข้ามาใช้ในวงการเพลงมากขึ้น มีการตั้งระบบสายส่งเทปเพื่อวางแผงเทป มีการกีดกันเทปจากค่ายคู่แข่งไม่ให้วางขายบนแผงเทป มีการจ้างเปิดเพลงตามสถานีวิทยุ มีการซื้อสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์เพลง

เท คโนโลยี่การบันทึกเสียงมีการพัฒนาขึ้น จากการที่นักดนตรีและนักร้องต้องบันทึกเสียงพร้อมกัน กลายมาเป็นวงดนตรีและนักร้องแยกกันบันทึกเสียง แล้วห้องบันทึกเสียงนำเสียงมารวมกันด้วยอุปกรณ์ในห้องอัดเสียง และทำการปรับแต่งเสียงโดยโปรดิวเซอร์ หรือผู้ควบคุมการผลิตเพลง

ในยุคนี้เพลงไทยเลียนแบบเพลงฝรั่งที่เรียกกันว่าเพลงสตริงเกิดขึ้นมากมาย ทำให้เพลงไทยสากลและเพลงลูกทุ่งได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก

พ.ศ.๒๕๓๐

วง ดนตรีลูกทุ่งจำนวนมากปิดตัวลงเนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนจากแฟนเพลงที่ หันไปให้ความนิยมเพลงสตริงมากกว่า นักร้องลูกทุ่งจึงได้แต่บันทึกเสียงกับค่ายเพลงเพื่อบันทึกเป็นเทปและซีดี ที่เริ่มแพร่หลาย  ส่วนการแสดงหน้าเวทีนั้นขึ้นอยู่กับค่ายเพลงจะจัดเพื่อโปรโมทเทปเพลง

พ.ศ.๒๕๓๒

คณะ กรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติสนับสนุนให้จัดงาน กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย โดยได้รับความร่วมมือจากนักอนุรักษ์เพลง ครูเพลงและนักร้องลูกทุ่ง เกิดกระแสให้เพลงลูกทุ่งกลับมาได้รับความนิยมมากอีกครั้ง นักร้องเก่ากลับมาร้องเพลงและมีการผลงานเพลงใหม่ออกมาก และมีนักร้องหน้าใหม่เกิดขึ้นอีกหลายคน เพลงลูกทุ่งเก่าถูกนำกลับมาบันทึกเสียงใหม่อีกเป็นจำนวนมาก

พ.ศ.๒๕๔๐

ประเทศ ไทยประสบวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ทำให้ธุรกิจเพลงได้รับผลกระทบไปด้วย ค่ายเพลงหลายแห่งต้องปิดตัวลงเหลือแต่ค่ายยักษ์ใหญ่เท่านั้น

พ.ศ.๒๕๔๙-ปัจจุบัน

เท คโนโลยี่คอมพิวเตอร์มีความก้าวหน้ามาก แต่ก่อปัญหาให้เกิดเทปผีซีดีเถื่อนอย่างแพร่หลาย และมีการโหลดเพลงกันตามอินเตอร์เนตจนเพลงกลายเป็นสิ่งไม่มีค่า ในขณะที่ค่ายเพลงก็เน้นแต่ผลประโยชน์ทางธุรกิจไม่เน้นคุณภาพเพลง ทำให้เพลงกลายเป็นสินค้าตัวหนึ่งไม่ใช่ศิลปะ แต่ก็ยังคงมีบางเพลงที่มีความไพเราะจนกลายเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมอย่าง มาก คือผลงานเพลงของสลา คุณวุฒิ ที่แต่งเพลงให้กับ ไมค์ ภิรมย์พร, ต่าย อรทัย, ศิริพร อำไพพงษ์ ขับร้อง ได้แก่เพลง ยาใจคนจน ปริญญาใจ ดอกหญ้าในป่าปูน

ยุคสงครามโลกครั้งที่ ๒ และมหาสงครามเอเซียบูรพา

พ.ศ.๒๔๘๒ เกิดสงครามระหว่างเยอรมนีและอิตาลีฝ่ายหนึ่ง กับประเทศยุโรปที่มีอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นแกนนำ เป็นการเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขณะที่ในเอเซียญี่ปุ่นวางแผนการที่ยึดครองดินแดนในเอเซีย

พ.ศ.๒๔๘๓ เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส โดยไทยเรียกร้องดินแดนฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่น้ำโขงคืนจากฝรั่งเศส ในที่สุดญี่ปุ่นเข้ามาเป็นคนกลางไกล่เกลี่ย เนื่องจากฝรั่งเศสกำลังอยู่ในภาวะสงครามจึงยอมยุติกรณีพิพาท ไทยได้ดินแดน หลวงพระบาง จำปาศักดิ์ เสียมราฐ พระตะบอง กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี กลับคืน

จอม พล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี สถาปนา "กรมโฆษณาการ" เพื่อจัดรายการทางสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อปลุกใจให้คนไทยบังเกิดความรัก ชาติ และได้จัดตั้งวงดนตรีกรมโฆษณาการ เพื่อบรรเลงเพลงปลุกใจและเพื่อกล่อมขวัญประชาชนในยามสงคราม

พ.ศ.๒๔๘๐

พจน์ จารุวณิช ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขจัดตั้งละครวิทยุคณะจารุกนก เพื่อแสดงละครวิทยุออกอากาศที่สถานีวิทยุหนึ่ง ป.ณ. และสถานีวิทยุกรมโฆษณาการ โดยครูพจน์ จารุวณิช และครูแก้ว อัจฉริยะกุล เป็นผู้แต่งบทละคร เขียนเพลงและทำนองเพลง คณะจารุกนกได้สร้างศิลปินเพลงไว้หลายคน เช่น มัณฑนา โมรากุล, วินัย จุลละบุษปะ, ทัศนัย ชะอุ่มงาน, ศรีสุดา รัชตะวรรณ, เล็ก อ่ำเที่ยงตรง

พ.ศ.๒๔๘๒

กรม โฆษณาการก่อตั้ง "วงดนตรีกรมโฆษณาการ" มีเอื้อ สุนทรสนาน เป็นหัวหน้าวง ประกอบด้วยนักดนตรีจากวงดนตรีไทยฟิล์มเดิม โดยนักดนตรีได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ

เอิบ ประไพเพลงผสม นักดนตรีกรมศิลปากร และแก้ว อัจฉริยะกุล ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข  มาร่วมแต่งเพลงให้วงดนตรีกรมโฆษณาการ ซี่งในระยะแรกมีนักร้องชายคือ เอื้อ สุนทรสนาน และล้วน ควันธรรม ส่วนนักร้องหญิงคือ รุจี อุทัยกร และมัณฑนา โมรากุล (ยืมตัวจากวงจารุกนก)

พลเอกหลวงพรหมโยธี สนับสนุนให้กองแตรวงจังหวัดทหารบกกรุงเทพฯ จัดตั้งวงดนตรีบิ๊กแบนด์เพื่อใช้บรรเลงในงานเต้นรำชื่อว่า "วงดุริยะโยธิ" มีจำปา เล้มสำราญ ศิษย์พระเจนดุริยางค์เป็นหัวหน้าวง นักร้องและนักดนตรีในระยะแรกประกอบด้วย ประมวล รัศมิทัต, เบ็ญจา ตุงคะมณี, ชะอวบ ฟองศิลป์, เชาว์ แคล่วคล่อง, แสงนภา บุญราศรี, ปรีชา บุณยเกียรติ, นคร ถนอมทรัพย์

พ.ศ.๒๔๘๔

 

น.อ.ขุน สวัสดิ์ และหม่อมหลวงทรงสอางค์ ฑิฆัมพร ตั้งคณะละคร "ศิวารมย์" ประกอบด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล, ครูเนรมิต, ครูมารุต, สง่า อารัมภีร, อิงอร, สุวัฒน์ วรดิลก เป็นผู้ประพันธ์บทละครและเพลงประกอบ มีนักแสดงนำที่มีชื่อเสียงคือ ส.อาสนจินดา และสุพรรณ บูรณพิมพ์ ละครที่แสดงมีหลายแนว เช่น พระลอ แผ่นดินของเรา เกียรติศักดิ์ทหารเสือ มาดามบัตเตอร์ฟลาย ขุนทัพพยายม

 

พ.ศ.๒๔๘๕

พล ตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จัดตั้งวงดนตรีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ขึ้น โดยมีนารถ ถาวรบุตร ที่ลาออกจากวงดนตรีกรมโฆษณาการเป็นหัวหน้าวง นักร้องประกอบด้วย ประทุม ประทีปเสน, สถาพร มุกดาประกร, สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, สุพรรณ บูรณพิมพ์, อุดม สุนทรจามร, นวลศรี ไกรเลิศ, กัณฑรีย์ นาคประภา ส่วนครูเพลงผู้ประพันธ์เพลงได้แก่ ขุนวิจิตรมาตรา, แก้ว อัจฉริยะกุล, บุญช่วย กมลวาทิน, ไสล ไกรเลิศ, สกนธ์ มิตรานนท์

ครูล้วน ควันธรรม แต่งเพลงแหวนประดับก้อย และขับร้องด้วยตัวเอง ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนต้องนำไปแต่งเป็นบทละครเวทีแสดงที่โรงภาพยนตร์พัฒนาการ ละครได้ความนิยมจนต้องแสดงติดต่อกัน ๗๙ รอบ

พ.ศ.๒๔๘๖

สุ รัฐ พุกกะเวส ผู้จัดการโรงภาพยนตร์โอเดียนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ นำวงดนตรีกรมโฆษณาการมาแสดงสลับกับวงดนตรีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหา กษัตริย์ และให้ใช้ชื่อวงว่า "สุนทราภรณ์" เนื่องจากเป็นการแสดงที่ไม่ใช่งานราชการ

ชื่อ "สุนทราภรณ์" ครูประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง บุตรชายของท่านครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะเป็นผู้ตั้งให้ โดยใช้นามสกุลสุนทรสนาน มารวมกับชื่ออาภรณ์ หญิงคนรักของครูเอื้อ ซึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ และหลังสงคราม ครูเอื้อ สุนทรสนาน และครูเพลงอีกหลายท่านเช่น ครูเวส สุนทรจามร, ครูเอิบ ประไพเพลงผสม, ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ได้ร่วมกันสร้างงานเพลงไพเราะอันเป็นอมตะไว้มากมาย

ละครเวทีเรื่องศร อนงค์ ของขุนวิจิตรมาตรามีเพลง "ศรอนงค์" และละครเรื่องกามนิต มีเพลง "คำมั่นสัญญา" ขับร้องโดยปรีชา บุณยเกียรติ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

พ.ศ.๒๔๘๗

ละคร เวทีเรื่องพันท้ายนรสิงห์ ที่โรงละครศาลาเฉลิมกรุง มีเพลง "น้ำตาแสงไต้" แต่งโดยสง่า อารัมภีร ขับร้องโดยสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ได้รับความนิยมสูงสุด แต่เมื่อนำมาบันทึกแผ่นเสียง บุญช่วย หิรัญสุนทร ได้ร้องบันทึกเสียงเป็นคนแรก

 

พันท้ายนรสิงห์ เมื่อนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์
นำแสดงโดย ชูชัย พระขรรค์ชัย คู่กับ สุพรรณ บูรณพิมพ์

bottom of page