top of page

ฟังเพลงเก่าในอดีต

ร่วมกันอนุรักษ์ บทเพลงเก่าในอดีต มิให้สูญหาย ผู้จัดทำมิได้อยู่ค้ำฟ้า แต่บทเพลงต่างๆ เหล่านี้จะสืบทอดต่อไป ยังลูกหลาน ที่มีใจรักเสียงเพลงเก่าในอดีต  อย่าให้บทเพลงสมัยใหม่ ต้องทำให้ เพลงเก่าในอดีตต้องสูญหายไป  โปรดช่วยกันเถิดครับ

 

แผ่นครั่ง

ผมก็เพิ่งเคยเห็น ที่ย่านบ้านหม้อ กรุงเทพ ฯ เนื่องจากแผ่นครั่งนั้นไม่ได้หากันดูได้ง่ายๆ
 

นักจัดรายการวิทยุๆ ยุคนี้ หลายๆคลื่นที่ทำรายการเป็นนักจัดราย ดีเจ รุ่นใหม่ๆ แถบจะทุกท่านไม่รู้จักแผ่นเครั่งอย่างแน่นอน นอกจากนักจัดรายการรุ่นเก่าๆ เท่านั้น และยังรวมไปถึงเครื่องเล่นแผ่นครั่ง สปีด 78 ลายๆท่านนั้นไม่รู้จัก ไม่เคยเห็น ไม่เคยเล่นเลยด้วยซ้ำ

แผ่นครั่ง สปีด 78 มีด้วยกัน  2 รุ่น  คือ รุ่นครั่งแท้ๆ หมายถึงทำจากขี้ครั่งจริงๆ รุ่นนี้ตกแตก ต้องเก็บรักษาให้ดีครับ ส่วนอีกรุ่นหนึ่งคือ ครั่งเทียหมายถึงขนาดก็ 10 นิ้วเหมือนกัน แต่เป็นแผ่นพลาสติก

 
แผ่นเสียง

แผ่นเสียง แผ่นกลมที่บันทึกเสียงหรือคำพูดไว้ในลักษณะเป็นร่องบนผิวพื้น เมื่อใส่บนหีบเสียงและให้เข็มเดินตามร่องจะเกิดเสียงทันที

 

เทป ซีดี

เทป ถือว่าเป็นสิ่งที่ควบคู่กับแผ่นเสียงในอดีต เพราะใช้ต้นทุนการผลิตต่ำ แต่ใช้ไปนานๆ ทำให้เทปยืด เสียงอาจเปลี่ยนไปได้

ซีดี  เป็นสิ่งที่เข้ามาแทนที่ แผ่นครั่ง แผ่นเสียง เทป และมีการพัฒนาต่อไปไม่หยุดยัง จนการเป็นระบบดิจิตอลในที่สุด

ประวัติวงดนตรี

หลังจากครูสุรพล สมบัติเจริญ ได้รับการสนับสนุนจากนายห้างอารยะโอสถ ตรามือ ตั้งวงดนตรีในนามวง ''สุรพล สมบัติเจริญ''

 

 ขึ้นมาเพราะชื่อเสียงโด่งดัง ผลงานเพลงชัดเจนยิ่งขึ้น จะไปขึ้นวงเจือ รังแสงจิตร หรือวงประกายดาวของก้าน แก้วสุพรรณ ก็กระไรอยู่

 ครูสำเนียง ม่วงทอง เลยคิดตั้งวงดนตรีบ้าง โดยมี ครูพีระ ตรีบุปผา ดูแลในส่วนของนักดนตรี ส่วนนักร้องก็ได้ ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย ที่ออกจากวง สุรพล นั่นแหละมาเป็นหลักให้

 ตั้งชื่อวงว่า รวมดาวกระจาย เป้าหมายไม่สร้างนักร้องเอง แต่จะเป็นที่พักพิงของบรรดาพวกแตกทัพแตกวงมาจากวงอื่นก็จะมารวมตัวกับวงนี้ เอายังงั้นเลย

 แต่ตั้งไม่นาน ครูพีระ มีงานเพลงหนังเยอะไม่มีเวลาเลยถอนตัวออกไป

 ส่วน ยงยุทธ ก็ถอนตัวเช่นกัน ไม่ทราบเหตุผล อาจจะเขินๆ และเกรงใจ ครูสุรพล ก็เป็นได้

 วง รวมดาวกระจาย  เลยเหลือแต่ ครูสำเนียง ม่วงทอง เป็นหัวหน้าอยู่คนเดียว

 ตั้งสำนักงานอยู่ท่าพระจันทร์ เป็นวงดนตรีที่มีนักร้องในสังกัดมากมายอย่างน่าอัศจรรย์แต่ละคนล้วนดังๆ ทั้งนั้น แต่แตกวงมาจากชาวบ้านเขาหมด

 นับเป็นวงดนตรีวงใหญ่ระดับแนวหน้าที่ประชาชนอยากดูมากวงหนึ่ง เพราะมีนักร้องดังเยอะ และนักร้องดาวรุ่งของวงก็กำลังเนื้อหอมขึ้นมาหลายคน

  นักร้องในสังกัด รวมดาวกระจาย ยุคแรกๆ ก็มี ผ่องศรี วรนุช, ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย, ไพรวัลย์ ลูกเพชร, ศักดิ์ โกศล, ศรีวรรณ เดือนสว่าง, ชัยชนะ บุญนะโชติ, โกมินทร์ นิลวงศ์, ประจักษ์ โลท์ศิริ, ศรีสละ ทองธารา, นคร มงคลายน, อาเนี้ยว ททท. (ทองหล่อ คงสุข), ไวพจน์ เพชรสุพรรณ, นวลละออง รุ้งเพชร, อรวรรณ วงษ์รักษา, ละอองเพชร แสงพราว, เด่น บุรีรัมย์, แดน บุรีรัมย์, ชลธี ธารทอง, วิโรจน์ เพชรเมืองกาญจน์, เด่น ดอกประดู่, ประสพโชค มีลาภ

  กระทั่ง ชาตรี ศรีชล  และ ระพิน ภูไท ก็เคยอยู่วงนี้มาก่อนตอนไม่ดัง ยังมีคนอื่นอีกมากเลยว่าหลายคนล้วนเคยผ่านวงนี้ทั้งนั้น เพราะนโยบายครูสำเนียงแกรับไม่อั้นเพราะอยู่อย่างบุฟเฟต์ คือหากินกันเองอยู่แล้ว

 เป็นวงดนตรีวงใหญ่ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเยอะคือไม่มีใครอยู่ยืนยาวนานเพราะทนอดไม่ไหวก็ลาออกไป ด้วยค่าตัวไม่ค่อยมาก เวลาเก็บตังค์ได้เยอะหน่อยครูแกก็จะชวนเจ๊หงส์เมียใหญ่ทะเลาะทุกที เลยค่าตัวไม่ค่อยจะมีใครได้เยอะนัก

 รวมดาวกระจายเป็นวงประวัติศาสตร์ เพราะเป็นหนึ่งในสี่วงดนตรีประชันที่วัดสนามไชย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2509

  อีกสามวงยิ่งใหญ่ในวันนั้นคือวง สมานมิตร เกิดกำแหง, เทียนชัย สมบุญประเสริฐ และ สุรพล สมบัติเจริญ

 ผลคือวงดนตรี สุรพล สมบัติเจริญ ชนะเลิศ

 

http://www.siamdara.com/column/00004696.html

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประวัตินักแต่งเพลง

ไพบูลย์ บุตรขัน (4 กันยายน พ.ศ. 2461 - 29 สิงหาคม พ.ศ. 2515) นักแต่งเพลง และนักเขียนบทละคร ที่มีผลงานที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก จนได้รับการขนานนามให้เป็น "อัจฉริยะนักแต่งเพลงอันดับหนึ่งของไทย" [1]

ครูไพบูลย์ บุตรขัน เดิมชื่อ ไพบูลย์ ประณีต เกิดที่บ้านท้องคุ้ง ตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เป็นบุตรของนายบุตร และนางพร้อม ประณีต ครอบครัวมีอาชีพทำนา มีฐานะยากจน มีพี่น้อง 3 คน เมื่ออายุได้ 6 ปี บิดาเสียชีวิต จึงได้รับการเลี้ยงดูโดยนายเจน บุตรขัน ผู้เป็นอา นำไปอยู่ที่อำเภอปทุมวัน กรุงเทพ และได้เปลี่ยนนามสกุลจากประณีต มาเป็นบุตรขัน [2]

ไพบูลย์ บุตรขัน เริ่มศึกษาชั้นประถมต้นที่จังหวัดปทุมธานี ประถมปลายที่โรงเรียนสตรีปทุมวัน และศึกษาจนจบมัธยม 8 ที่โรงเรียนสวัสดิ์อำนวยเวทย์ กรุงเทพ และศึกษาดนตรีเพิ่มเติมจากครูพิณ โปร่งแก้วงาม ราวปี พ.ศ. 2476-2478 และเรียนวิชาดนตรีและโน้ตเพลงสากลเพิ่มเติมที่สมาคมวายเอ็มซีเอ แถบถนนวรจักร และได้ใช้โน้ตดนตรีประกอบการแต่งเพลงทุกครั้งตั้งแต่นั้นมา [2]

หลังจากเรียนจบ ไพบูลย์ บุตรขัน ได้ทำงานเป็นครูสอนภาษาไทยที่โรงเรียนกว๋องสิว แล้วลาออกไปทำงานเป็นช่างไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าสามเสน แล้วลาออกไปทำงานกับคณะละคร คณะแม่แก้ว และคณะจันทโรภาส ของพรานบูรพ์ ทำหน้าที่เขียนบทละครวิทยุ และแต่งเพลง

งานเพลงของไพบูลย์ บุตรขัน เริ่มบันทึกแผ่นเสียงเมื่อประมาณ พ.ศ. 2490 จากการชักนำของ สวัสดิภาพ บุนนาค ซึ่งเป็นเพื่อนและน้องเขย เพลงในยุคแรกได้แก่เพลง "มนต์เมืองเหนือ" "คนจนคนจร" "ดอกไม้หน้าพระ" "ดอกไม้หน้าฝน" และ "ค่าน้ำนม" และได้รับการยกย่องว่าเป็นงานที่มีคุณค่า และได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน เช่น "โลกนี้คือละคร" (ขับร้องโดย ปรีชา บุณยะเกียรติ) "เบ้าหลอมดวงใจ" และ "มนต์รักลูกทุ่ง" (ขับร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร) "ฝนเดือนหก" (ขับร้องโดย รุ่งเพชร แหลมสิงห์) "ยมบาลเจ้าขา" (ขับร้องโดย บุปผา สายชล)

"กลิ่นโคลนสาปควาย" (แต่งขึ้นในปี พ.ศ. 2496 ขับร้องโดยชาญ เย็นแข) เป็นอีกผลงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งของของไพบูลย์ บุตรขัน ที่ทางราชการไทยเคยประกาศห้ามเปิดในช่วงการปราบปรามคอมมิวนิสต์ แม้จะมีการห้ามจากทางการแต่ยิ่งห้ามก็มีผู้ฟังซื้อแผ่นเสียงไปฟังเป็นจำนวนมาก เพลงนี้ยังได้รับยกย่องให้เป็นรากฐานของเพลงลูกทุ่งอีกด้วยเพราะในอดีตก่อน พ.ศ. 2500 นั้นเพลงในประเทศไทยยังมิได้แบ่งแยก ยุคสมัยที่ยังไม่ได้มีการแบ่งแยกเพลงลูกกรุงและเพลงลูกทุ่งออกจากกันอย่างชัดเจน[3]

หลังจากเสียชีวิตไปแล้วหลายปี ในปี พ.ศ. 2532 เพลงของครูไพบูลย์ ได้รับรางวัลพระราชทานในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกไทย ถึง 10 เพลง ได้แก่ "ชายสามโบสถ์" (ขับร้องโดย คำรณ สัมบุญณานนท์) "น้ำตาเทียน" (ขับร้องโดย ทูล ทองใจ) "บ้านไร่น่ารัก" และ "เพชรร่วงในสลัม" (ขับร้องโดย ชินกร ไกรลาศ) "ฝนซาฟ้าใส" (ขับร้องโดย ยุพิน แพรทอง) "ฝนเดือนหก" (ขับร้องโดย รุ่งเพชร แหลมสิงห์) "บุปเพสันนิวาส" และ "มนต์รักแม่กลอง" (ขับร้องโดย ศรคีรี ศรีประจวบ) "มนต์รักลูกทุ่ง" (ขับร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร) และ "ยมบาลเจ้าขา" (ขับร้องโดย บุปผา สายชล) และในปี พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลจากเพลง "หนุ่มเรือนแพ" (ขับร้องโดยกาเหว่า เสียงทอง)

ปรวัตินักร้อง

สุรพล สมบัติเจริญ (เดิมชื่อลำดวน) เกิดเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2473 เป็นคนสุพรรณบุรีโดยกำเนิด เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่ง เจ้าของเพลงดัง "16 ปีแห่งความหลัง"

ลำดวน สมบัติเจริญ อาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 125 ถนนนางพิม อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ฐานะทางครอบครัวแต่เดิมค่อนข้างดี คุณพ่อรับราชการอยู่แผนกสรรพากรจังหวัด ชื่อ เปลื้อง สมบัติเจริญ ส่วนคุณแม่ชื่อ วงศ์ นอกจากเป็นแม่บ้านแล้วยังค้าขายเล็กๆน้อยๆ ภายในบ้านกลางใจเมืองสุพรรณ สุรพลเป็นบุตรชาย คนที่ 2 ในบรรดาพี่น้องท้องเดียวกัน 6 คน

หลังจบชั้นประถมจาก โรงเรียนประสาทวิทย์ ก็มาเรียนที่โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัยจนจบมัธยมปีที่ 6 เมื่อเรียน จบที่สุพรรณบุรีคุณพ่อก็จัดส่งสุรพลเข้ามาเรียนต่อที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย แต่สุรพลก็เรียนได้เพียงปีครึ่งก็ต้องลาออกเพราะใจไม่รักแต่ด้วยไม่อยากขัดใจคุณพ่อ การเรียนก็เลยไม่ดี เขาไปสมัครเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนสุพรรณกงลิเสีย เสี้ยว เป็นโรงเรียนจีน แต่สอนอยู่ได้แค่ครึ่งปีก็ลาออก ด้วยใจไม่ได้รักอาชีพนี้อย่างจริงจัง

เขาได้สมัครเข้าไปเป็นทหารอยู่ที่โรงเรียนนักเรียนจ่าทหารเรือ แต่สิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น เมื่อชะตาเขาพลิกผกผัน หลังจากเขาได้หนีราชการทหารเรือ จนได้รับโทษถูกคุมขัง เขาได้กลายเป็นขวัญใจของนักโทษ ด้วยการร้องเพลงกล่อมก่อนนอน เมื่อได้รับอิสรภาพ สุรพลได้ทิ้งเส้นทางทหารเรือ สุรพลมีโอกาสได้ร้องเพลงในงานสังสรรค์กองทัพอากาศ น้ำเสียงของเขาได้โดนใจหัวหน้าคณะนักมวยเลือดชาวฟ้า อย่างเรืออากาศศรีปราโมทย์ วรรณพงษ์ จึงเรียกตัวเขาไปพบในวันรุ่งขึ้น และยื่นโอกาสให้สุรพลย้ายไปเป็นนักร้องประจำกองดุริยางค์ทหารอากาศ

ในปี พ.ศ. 2496 เพลง 'น้ำตาลาวเวียง' เป็นเพลงแรกที่ได้บันทึกเสียง แต่เพลงที่ทำให้เป็นที่รู้จักทั่วไปคือเพลง 'ชูชกสองกุมาร' หลังจากนั้นชื่อเสียงของสุรพล ก็เป็นที่นิยมมากขึ้น และมีผลงานชุดใหม่ออกมาเรื่อยๆ เช่น 'สาวสวนแตง' 'เป็นโสดทำไม' 'ของปลอม' 'หนาวจะตายอยู่แล้ว' 'หัวใจผมว่าง' 'สาวจริงน้อง' 'ขันหมากมาแล้ว' 'น้ำตาจ่าโท' 'มอง' และ อีกหลายเพลง

และทำให้คนรู้จักความเป็น "สุรพล สมบัติเจริญ" อย่างแท้จริงในเวลาต่อมาก็คือเพลง "ลืมไม่ลง" และเมื่อชื่อเสียงเริ่มเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป สุรพลจึงมีงานร้องเพลง นอกสังกัดถี่ขึ้นเป็นลำดับ อาทิ ร่วมร้องกับวง "แมมโบ้ร็อค" ของ เจือ รังแรงจิตร วง "บางกอกช่ะช่ะช่ะ" ของ ชุติมา สุวรรณรัตน์ และ สมพงษ์ วงษ์รักไทยส่วนวงดนตรีที่สุรพลร้องด้วยมากที่สุดคือ วง " ชุมนุมศิลปิน " ของ จำรัส วิภาตะวัตร

สุรพล สมบัติเจริญ มีความเคารพต่อคุณประสาน ศิลป์จารุ (ทองแป๊ะ) เป็นอย่างมาก เพราะเป็นผู้ผลักดันให้สุรพลมีความมุ่งมั่นในวงการลูกทุ่งยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคุณประสานเป็นผู้นำเพลงของสุรพลไปเปิดในสถานีวิทยุกระจายเสียงวรจักร ซึ่งถือเป็นการเปิดตัวเพลงลูกทุ่งในสถานีวิทยุเป็นครั้งแรกในสมัยนั้น และเป็นจุดเริ่มต้นให้เพลงลูกทุ่งได้รับการยอมรับ และมีการพัฒนาเป็นอย่างมากมาจนถึงปัจจุบัน

ตลอดชีวิตของการเป็นนักร้อง สาเหตุที่ทำให้ "สุรพล" ได้รับการยอมรับว่าเป็นราชาเพลงลูกทุ่ง เพราะความอัจฉริยะในตัวเองที่สามารถแต่งเพลง และยังคงเป็นที่จดจำจนทุกวันนี้ก็มี อาทิ ลืมไม่ลง, ดำเนินจ๋า, แซ่ซี้อ้ายลื้อเจ็กนั้ง, หัวใจเดาะ, สาวสวนแตง, น้ำตาจ่าโท, สนุกเกอร์, นุ่งสั้น, จราจรหญิง, เสน่ห์บางกอก และ 16 ปีแห่งความหลัง เป็นต้น

นอกจากจะแต่งเอง ร้องเอง "สุรพล" ยังทำหน้าที่ครูแต่งเพลงให้คนอื่นร้องจนโด่งดังอีกด้วย อย่างเช่น ผ่องศรี วรนุช, ไพรวัลย์ ลูกเพชร, ละอองดาว สกาวเดือน, ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย, เมืองมนต์ สมบัติเจริญเป็นต้น

"สุรพล สมบัติเจริญ" ถูกยิงเสียชีวิต หลังจากการแสดงบนเวทีที่วิกแสงจันทร์ หน้าวัดหนองปลาไหล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2511 เมื่ออายุเพียง 37 ปี 10 เดือน 23 วัน

bottom of page