top of page

แผ่นเสียงเพลงไทยในอดีต

ขอบพระคุณที่มาของการศึกษา : http://www.siamarchives.comPosted On Saturday, July 17, 2010 By editor. Under ปกิณกวิทยา, สยามจดหมายเหตุ ปีที่ 6 พ.ศ. 2524 Tags: น้ำตาล, เพลงไทย, แผ่นเสียง

          นับ ตั้งแต่ปี 2437 วงการดนตรีไทยได้เริ่มมีการบันทึกเพลงไทยลงบนผิวของกระบอกเสียง แบบที่เรียกว่า “กระบอกเสียงของเอดิสัน” จากนั้นการบันทึกเสียงเพลงไทยได้วิวัฒนาการมาเป็นลำดับถึงปัจจุบันกำเนิดการ บันทึกเสียงการบันทึกเสียงได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายดัทช์ ชื่อทอมัส เอลวา เอดิสัน (Thomas Elva Edison พ.ศ.2390 – 2474) เอดิสันเกิดที่เมืองมิลาน มลรัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ของไทย เอดิสันเรียนหนังสือในโรงเรียนน้อยมาก เพราะความที่เป็นคนที่มีความคิดแปลกๆ เขาได้สร้างตัว รวมทั้งศึกษาด้วยตนเองเกี่ยวกับเรื่องเสียงและไฟฟ้า จะสามารถประดิษฐ์เครื่องส่งโทรเลข ชนิดส่งข่าวสารพร้อมกัน 6 เรื่อง ไปในสายลวดเส้นเดียวกันได้ชาวอเมริกันยอมรับนับถือว่าเขาเป็นนัก วิทยาศาสตร์ชั้นยอดของสหรัฐ ซึ่งได้ประดิษฐ์เครื่องวิทยาศาสตร์ รวมทั้งภาพยนต์ด้วยทั้งที่เขาเป็นคนหูพิการเอดิสัน พบความสำเร็จในการบันทึกเสียงครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2420 ณ บ้านพักของเขาที่เมืองเมนโลปาร์ค ในมลรัฐนิวซี่ เพลงแรกที่เขาอัดเสียงลงไปคือเพลง Mary Had a little Lamb โดยเป็นผู้ร้องเพลงนี้ด้วยตนเอง เมื่อสหรัฐประกาศว่า เอดิสันคิดเครื่องบันทึกเสียงได้ไม่นานนักฝรั่งเศสก็ได้ประกาศว่าชาว ฝรั่งเศสที่ชื่อนายชาลส์ ครอส (Charles Cros) ได้พบวิธีอัดเสียงตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2420 แต่เนื่องจากผลงานของนายครอสไม่ดีเท่าที่ควร ชื่อเสียงของนายเอดิสัน จึงรุ่งโรจน์ขึ้นมาแต่เพียงผู้เดียวในฐานะที่เป็นผู้ค้นพบการบันทึกเสียง เป็นคนแรกของโลกในปี 2430 เอดิสันได้จดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องบันทึกเสียงที่เขาคิดค้นได้ แล้วทำออกจำหน่ายเรียกเครื่องบันทึกเสียงนี้ว่า “ กระบอกเสียงของเอดิสัน” (Edison Cylinder) กระบอกเสียงมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกผิวด้านนอกฉาบด้วยขี้ผึ้งแข็ง เวลาบันทึกเสียง ใช้วิธีไขลานให้ท่อทรงกระบอกนี้หมุนไปแล้วผู้ขับร้องจะต้องร้องเพลงกรอกลงไป ทางลำโพง เสียงที่เข้าทางลำโพงนั้นจะไปสั่นที่เข็มซึ่งจะขูดไปบนขี้ผึ้งบนรูปทรง กระบอกนั้นให้เกิดเป็นร่องเสียงขึ้น เริ่มต้นตั้งแต่ส่วนหัวของกระบอก ไปจบลงที่ปลายอีกข้างหนึ่งเป็นเสร็จพิธี เมื่อจะนำมาเปิดฟังก็นำกระบอกนั้นมาหมุนด้วยเครื่องไขลานเช่นเดียวกัน แล้วใช้เข็มขูดลงไปบนร่องที่ได้บันทึกไว้นั้น เสียงเพลงก็จะออกมาทางลำโพงเดียวกับที่เคยใช้อัดเสียงนั่นเอง แต่กรณีที่เพลงยังไม่จบ ก็ต้องนำกระบอกใหม่มาบันทึกสียงต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจบเพลงซึ่งบางครั้งต้องใช้กระบอกเสียงหลายอันจานเสียงชนิดแผ่นบางหลัง จากที่เอดิสันได้ค้นพบวิธีอัดเสียงเมื่อปี 2420 แล้วต่อมาในปี 2430 ได้มีนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมนีชื่ออีมิล เบอร์ไลเน่อร์(Emile Berliner พ.ศ. 2394 – 2472 ) ได้ประดิษฐ์แผ่นเสียงรูปกลมแบนเหมือนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ขึ้น โดยใช้หลักการบันทึกเสียงเช่นเดียวกับของเอดิสัน แผ่นเสียงแบบเบอร์ไลเน่อร์นี้ เดิมมีลักษณะร่องเสียงกลับทางกับแผ่นเสียงที่ใช้ในปัจจุบัน เวลาจะเล่นต้องไขลานเครื่องก่อน เมื่อเปิดให้แผ่นหมุนเร็วจนเต็มที่แล้ว ( 66 – 75 รอบต่อนาที) เมื่อแผ่นหมุนเร็วจนเต็มที่แล้ว จึงใช้เข็มวาง ณ จุดด้านในใกล้กับรูกลางของแผ่นเสียงเข็มจะเดินเลื่อนออกไปจนไปจบเพลงที่ขอบ แผ่นเสียง เครื่องเล่นแบบนี้บางแบบต้องหมุนด้วยมือตลอดเวลา ต่อมาจึงได้เปลี่ยนเป็นลานแบบนาฬิกาแทน แผ่นเสียงแบบเบอร์ไลเน่อร์ชนิดร่องกลับทางนี้ ปัจจุบันหายากมากต่อ มาเบอร์ไลเน่อร์ได้ร่วมมือกับบริษัทแผ่นเสียงแกรมโมโฟน คอนเสิร์ท เรคคอร์ด (Gramophone Concert Record) ได้มีการพัฒนาแผ่นเสียงโดยเริ่มต้นเพลงที่ขอบแผ่นเสียงด้านนอก ดังเช่นปัจจุบัน แผ่นเสียงรุ่นที่พัฒนาแล้วนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 ขนาด คือ 10 นิ้วและ 12 นิ้ว แรกทีเดียวใช้เครื่องผสมกับวัสดุยางอย่างย้อมสีดำและอัดเพียงหน้าเดียว ส่วนอีกด้านหนึ่งปล่อยว่างไว้หรือพิมพ์ตราบริษัทเป็นเส้นลึก บางแผ่นเขียนปี พ.ศ.ที่บันทึกไว้ด้วยแผ่นเสียงขนาด 10 นิ้ว หน้าหนึ่งจะบรรเลงได้ประมาณ 3 นาทีครึ่ง ใช้อยู่นานหลายปี ต่อมาจึงอัดเป็น 2 หน้าประมาณปี 2463 และทำร่องเสียงให้ละเอียดมาขึ้นอีกแต่ยังเล่นได้เพียงหน้าละ 4 นาทีเท่านั้น แผ่นเสียงเก่ารุ่นนี้บันทึกเสียงได้ช่วงความถี่แค่เพียง 3.5 Octave (ประมาณ 24 – 30 คีย์เปียโน) แผ่นเสียงประเภทนี้ไม่ได้อัดด้วยไฟฟ้า จึงปรากฏว่าเครื่องดนตรีสูงๆ เช่น ขลุ่ยผิว จะไม่ได้ยินเสียงเลยเมื่อ มีการบันทึกเสียงด้วยไฟฟ้าขึ้น จึงมีการบันทึกเสียงสูงได้ดีกว่าเก่าแต่ไมโครโฟนยังไม่ดีพอ ต่อมาบริษัท แผ่นเสียงในเยอรมนีได้ประดิษฐ์ไมโครโฟนแบบที่ใช้คาร์บอน ปรากฏว่าสามารถบันทึกเสียงได้ช่วงความถี่กว้างถึง 7 Octave (ประมาณ 50 คีย์เปียโน) ดังนั้นแผ่นเสียงเพลงฝรั่งระยะก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงสามารถบันทึกเสียงได้ครบถ้วนมากขึ้นครั้งถึงปี 2489 บริษัทโคลัมเบียได้ประดิษฐ์แผ่นเสียงลองเพลย์ขึ้น ครั้งแรกทำเป็นแผ่นขนาด 12 นิ้ว หมุนด้วยความเร็วช้าลงเหลือ 33 – 31 รอบต่อนาที และประดิษฐ์ร่องละเอียดมากชนิด ที่เรียกว่า Microgroove ใช้เข็มที่มีขนาดเล็กมาก โดยต่อกับหัวเข็มและแขนของเครื่องเล่นตามเสียง ที่มีน้ำหนักเบาเป็นพิเศษ เครื่องเล่นจานเสียงรุ่นนี้ ต้องใช้เครื่องขยายเสียง (Amplifier) และลำโพงไฟฟ้าต่อให้ครบชุด จึงจะได้เสียงที่ละเอียดลออมากขึ้นกว่าเดิม ผู้ประดิษฐ์ คือ ดร.ปีเตอร์ โกลมาร์ค (Peter Goldmark) วิวัฒนาการชั้นนี้ทำให้ฟังเพลงได้นานขึ้น ได้ยินเสียงชัดเจนยิ่งขึ้น อุตสาหกรรมแผ่นเสียงจึงก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับต่อ มาบริษัท อาร์. ซี. เอ. วิคเตอร์ ได้ผลิตแผ่นเสียงขนาดเล็กสปีด 45 ซึ่งเหมาะสำหรับบันทึกเพลงสากลสั้นๆ โดยทำเป็นแผ่นใช้โลหะแบบบางเป็นแกนแล้วชุบด้วยครั่ง หรือเซลลูลอยด์สีดำ เป็นแผ่นเสียงตกไม่แตก ครั้นถึงยุคพลาสติกและไนลอน แผ่นเสียงจึงได้พัฒนาขึ้นมาเป็นแผ่นเสียงลองเพลย์เช่นปัจจุบัน ประกอบกับระยะหลังนี้เครื่องขยายเสียงเจริญขึ้นมาก จึงบันทึกเสียงได้ดีขึ้น จึงเกิดแผ่นเสียงไฮไฟด์ (High Fidelity) แผ่นเสียงสเตอริโอ (Stereophonic Sound) แล้วเปลี่ยนเป็นแบบ 4 ช่อง (Four Channels) ในปัจจุบันแผ่นเสียงกับเพลงไทยประเทศ ไทยเริ่มอัดแผ่นเสียงในตอนปลายรัชกาลที่ 5 ประมาณก่อน พ.ศ. 2440 เพราะในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งปรากฏในพระราชนิพนธ์ไกลบ้านได้ระบุว่าทรงฟังแผ่นเสียงเพลงแสนเสนาะที่ หม่อมส้มจีนร้อง และแผ่นเสียงแหล่เรื่องพระไวยรวมทั้งเทศน์มหาชาติกัณฑ์ต่างๆ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2440 ขณะที่ประทับ ณ เมืองแฮมเบิร์ก ประเทศเยอรมนี แผ่นเสียงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงกล่าวถึงนี้เป็นแผ่นเสียงหน้าเดียว บันทึกโดยบริษัท Gramophone Concert Record ประเทศเยอรมนี โดยเป็นแผ่นเสียงที่ไม่ได้อัดด้วยไฟฟ้า คุณภาพของเสียงจึงเลวมาก เพราะไม่สามารถบันทึกเสียงสูง ๆ ได้แต่ใน กาลรัชสมัยรัชกาลที่ 7 ประมาณ ปี 2471 ได้เริ่มมีการบันทึกเสียงด้วยเครื่องไฟฟ้า โดยมีบริษัทต่างประเทศหลายบริษัทเข้ามาบันทึกเสียงในประเทศไทย อาทิ บริษัท โอเดียน บริษัท พาโลโฟน บริษัท อาร์.ซี.เอ. บริษัท ดอยเซ แกรมโมโฟน บริษัท โคลัมเบีย ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีบริษัทของคนไทยได้บันทึกเสียงด้วยอีก 2 บริษัท คือ ห้าง ต.เง็กชวน ซึ่งเริ่มเมื่อปี 2468 และห้างแผ่นเสียงศรีกรุง ส่วนสถานที่บันทึกเสียงนั้นได้แก่ ห้างสุธาดิลก คือ ตึกที่ทำการกรมโยธาธิการ เชิงสะพานผ่านฟ้าปัจจุบัน และที่โรงละครหลวงในวังสวนมิสกวัน กับที่บ้านนรสิงห์ (ทำเนียบรัฐบาลในปัจจุบัน) แผ่นเสียงที่อัดในรัชกาลที่ 7 นี้ มีตราของคนไทยเพิ่มขึ้นอีก 4 ตรา คือ ตรากระต่าย (ของนาย ต.เง็กชวน) ตรากรอบพักตร์ ศรีทองของพระสุจริตสุดา(แผ่นเสียงคณะนารีศรีสุมิตร์) ตราเศรณี ของคุณหญิงรามบัณฑิตสิทธิเศรณี (เยี่ยม สุวงศ์) และตราศรีกรุงหลัง จากเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วไม่นานแผ่นเสียงเพลงไทยสากลได้เริ่มอุบัติขึ้น แทนที่แผ่นเสียงเพลงไทยเดิม และในสมัยรัชกาลที่ 8 ต่อรัชกาลที่ 9 เพลงไทยสากลได้ตีตลาดเพลงไทยเดิมจนไม่มีผู้กล้าจะอัดแผ่นคงเหลือแต่บริษัท กมลศุโกศล ที่ยังคงยืนหยัดต่อสู้อย่างเข้มแข็ง บริษัทนี้ได้อัดแผ่นเสียงลองเพลย์ เพลงไทยเดิมของกรมศิลปากรไว้หลายชุดด้วยกัน แต่เป็นแผ่นเสียงไฮไฟต์ทั้งสิ้น ขณะเดียวกันห้าง ต.เง็กชวนนำแผ่นเสียง สปีด78 ของเก่ามาอัดใหม่เป็นแผ่นเล็ก 45 สปีด และสปีด 33 1/3 ขายมาจนปิดร้านเลิกกิจการไปเมื่อปี 2522อนึ่ง แผ่นเสียงยุคที่อัดด้วยไฟฟ้านี้ แบ่งได้เป็น 4 ระบบด้วยกัน คือระบบการขูดร่องเสียงแบบร่องเดียว ขั้นต้น ซึ่งมีคุณภาพของเสียงไม่ดีนักได้แก่แผ่นเสียงสปีด 78 ต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นแผ่นเสียงร่องเดียวแบบไฮไฟต์ ซึ่งขนาดของร่องละเอียดกว่าแบบแรก ได้เสียงชัดเจนและแหลมกว่าเก่าส่วนแผ่นเสียงระบบสเตอริโอนั้นเป็นแบบที่ 3 มีร่องเสียงพิเศษที่สามารถบันทึกเสียงไว้เป็นสองช่อง สำหรับส่งออกทางลำโพงขวาและลำโพงซ้าย แบบสุดท้ายเป็นแบบร่องเสียงพิเศษสามารถปล่อยเสียงออกมาได้เป็น 4 ทาง จึงเรียกว่าสเตอริโอสมบูรณ์แบบ 4 ช่อง นอกจากจะฟังเสียงในแนวซ้าย ขวาได้แล้ว ยังฟังเสียงที่มาจากส่วนหลัง และส่วนหน้าของวงดนตรี แยกจากกันได้อย่างชัดเจนอีกด้วยแผ่นเสียงเพลงไทยในสมัยรัชกาลที่ 5แผ่นเสียงเพลงไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแบ่งออกเป็นประเภทต่างได้ดังต่อไปนี้คือ1. แผ่นเสียงหน้าเดียว มีเพียง 2 บริษัท คือ บริษัท Gramophone Concert Record ได้แก่เพลงแสนเสนาะ 3 ชั้น บั้ยคลั่ง(โบ้คลั่ง) 3 ชั้น ซึ่งขับร้องโดยหม่อมส้มจีน (ซ่มจีน) หม่อมส้มจีนเป็นภรรยาพระยาราชานุพันธ์ (สุดใจ) นับเป็นสุภาพสตรีคนไทยคนแรกที่ได้ร้องเพลงบันทึกเสียงและเพลงบุหลัน 3 ชั้น แหล่พระไวย แหล่ชูซก กล่อมตัว ส่วนอีกตราหนึ่งเป็นของบริษัท Robinson Piano (Columbia) พบเพียงแผ่นเดียวคือเพลงลาวแพน ซึ่งขับร้องโดยหม่อมเจริญในเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์2. แผ่นเสียงสองหน้าร่องกลับทาง ไม่ปรากฏชื่อบริษัท แต่เขียนไว้ว่าบันทึกที่เมือง Brussel ประเทศ Belgium เป็นเพลงตับคาวีพระราชนิพนธ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ บรรเลงด้วยวงปีพาทย์ดึกดำบรรพ์ หม่อมเจริญ (เป็นภริยาของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์) และแม่เทศ (คุณหญิงนัฏกานุรักษ์เทศ สุวรรณภารต) เป็นผู้ขับร้อง3. แผ่นเสียงสองหน้าร่องธรรมดา แผ่นเสียงชุดนี้เป็นของบริษัท International Taking Machine พิมพ์บนแผ่นเสียงไว้ว่า จัดทำให้กับบริษัท Fonotopia โดยเฉพาะเครื่องหมายการค้าตราตึก หรือตรา Oden Record ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10.5 นิ้ว มีอยู่เป็นจำนวนมากมายมี 3 สี คือก. หน้าสีน้ำตาล แผ่นเสียงชุดสีน้ำตาลนี้มีมากที่สุด อาทิ เพลงลาวดำเนินทราย แตรวงทหารราบที่ 3 บรรเลงไม่มีร้อง ลาวสมเด็จ หม่อมมาลัย (นักร้องในคณะของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ เป็นหม่อมมารดาของหม่อมหลวงบุบผา กุญชร (ดอกไม้สด)เป็นนักร้องที่ชำนาญการร้องละครมาก) เป็นผู้ขับร้องพิณพาทย์รับ ลาวเฉียง หม่อมเจริญเป็นผู้ขับร้อง เทพบรรทม นายอิ่ม (นักร้องประจำแตรวงของทหารเรือ)เป็นผู้ขับร้อง แตรวงทหารเรือรับปลาทอง 3 ชั้น ขับร้องโดยนายจอน (หลวงกล่อมโกศล ประจำอยู่กรมอู่ทหารเรือ มีหน้าที่เห่เรือเวลาเสด็จพระราชดำเนินขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเสียงเพราะและ เสียงดังมาก) แขกไทร ขับร้องโดยหม่อมเจริญ พิณพาทย์ดึกดำบรรพ์ เชิดจีน ขับร้องโดยนายศุข (หลวงเพราะสำเนียง หรือ ศุข สุขวาทีเดิมเป็นนักเทศน์มาก่อนร้องเพลงเสียงแหลมเล็ก) พิณพาทย์รับ ฯลฯข. หน้าสีน้ำเงิน ชุดนี้ไม่มีแตรวงของทหารเรือ มีแต่กรมทหารมหาดเล็ก (ทหารบก) อาทิ ลาวเจ้าชู หม่อมเจริญขับร้อง แตรวงทหารราบที่ 2พระยาโศก นายศุขขับร้อง แตรวงทหารมหาดเล็กสารถี 3 ชั้น นายจอนขับร้อง แตรวงทหารมหาดเล็กแหล่เสด็จกลับจากยุโรป นายสอนกรุงเก่าแหล่(นักเทศน์มหาชาติมีชื่อในสมัยรัชกาลที่ 5 ) ฯลฯค. หน้าสีแดง เสียงที่ดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับ 2 ชุดแรก แต่ยังไม่ได้อัดด้วยไฟฟ้า วิวัฒนาการอัดเสียงชุดหน้าสีแดงนี้ดีขึ้นมาก เพราะว่าเป็นชุดแรกที่พอจะได้ยินเสียงฉิ่งชัดขึ้นมาก เสียงร้องชัดเจน อาทิ เพลงตับนางลอย ปี่พาทย์นายแปลก นายสอน (หลวงประดิษฐ์ไพเราะหรือ ศร ศิลปบรรเลง) ขับร้อง เพลงเขมรใหญ่ 3 ชั้น เพลงหอมหวล 3 ขั้น ฯลฯง. แผ่นเสียงตรารามสูรกับเมขลา แผ่นเสียงชุดนี้มีลักษณะพิเศษหลายประการ โดยทั่วไปมีขนาดธรรมดาหมุน 78 รอบต่อนาที แต่มีความหนาน้อยมากกว่าทุกรุ่นที่กล่าวข้างต้น อัด 2 หน้า ร้องละเอียดกระดาษปิดแผ่นเสียงเป็นสีแดง พิมพ์ตัวหนังสือและตราด้วยหมึกดำอย่างดีเขียนไว้ชัดเจนว่า “แผ่นเสียงสำหรับผู้มีบรรดาศักดิ์” ซึ่งเข้าใจว่าเป็นวิธีการของผู้ผลิตจำหน่ายที่เขียนขึ้นเพื่อจะขายให้ได้ ราคาดี มิได้หมายจะแยกชั้นวรรณะของคนฟังแต่อย่างใด แผ่นชุดนี้คือมโหรีตับทะแยของเก่า ผู้ร้องมีคนเดียวทั้งชุดคือหม่อมส้มจีน พิณพาทย์ที่บรรเลงเป็นวงของขุนประสานดุริยศัพท์แผ่นเสียงในสมัย รัชกาลที่ 5 นี้ อัดเป็นแผ่นแบบด้วยขี้ผึ้งก่อนแล้วส่งไปพิมพ์เป็นแผ่นจริงที่ยุโรป จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงได้ส่งไปพิมพ์แผ่นที่เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดียแผ่นเสียงในสมัยรัชกาลที่ 6เริ่ม ตั้งแต่ พ.ศ. 2453 – 2468 ซึ่งเป็นระยะที่การอัดแผ่นเสียงมีอยู่มากมายหลายประเภท ทุกบริษัทอัด 2 หน้าทั้งสิ้นและเสียงดีขึ้นมาก แต่ไม่ค่อยได้ยินเสียงกลอง เพราะไมโครโฟนยังไม่มีชนิดดีพอ เสียงกลองจะดัง “ฟุบฟุบ” ไม่เพราะ จึงงดตีหน้าทับหมดสงสัยว่าจะไม่ได้อัดด้วยไฟฟ้าเลยแผ่นเสียงในสมัยรัชกาลที่ 6 เท่าที่ค้นพบมีดังต่อไปนี้1. แผ่นเสียงตรา Gramophone Concert Record 2 หน้าเท่าที่พบมีเพียงแผ่นเดียวคือเพลงสี่บท 3 ชั้น นายหยิน (ศิษย์พระยาประสานดุริยศัพท์ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุน เรียกสั้น ๆ ว่า “ขุนลิขิตฯ”) เป็นผู้ขับร้องรับด้วยเครื่องสายฝรั่งผสมซอฝรั่ง (ไวโอลิน) วงของนายแคล้ว วัชโรบล (บิดาศาสตร์ ดร. คลุ้ม วัชโรบล)2. แผ่นเสียงตรา Lynophone Concert Record เป็นตราลำโพงสีทอง เท่าที่พบมีเสียง 3 เพลง คือ จำปาทอง เทศ 2 ชั้นนายศุข ร้อง แตรวงทหารมหาดเล็ก ชงโค 2 ชั้น นายจอน ร้อง แตรวงทหารมหาดเล็ก นกขมิ้น 3 ชั้น นายจอน ร้อง แตรวงทหารมหาดเล็ก3. แผ่นเสียงตราสุนุข His Master’s Voice ชุดนี้มีมากมาย เป็นยุคที่นักดนตรีได้รับพระราชทานยศบรรดาศักดิ์กันแล้วทั้งสิ้น โดยเรียงลำดับจากเก่าไปหาใหม่ดังนี้3.1 ตราสุนัขชุดที่ 1 หม่อมมาลัย แม่ทรัพย์ดับพระลอ ปรีดาลัย หม่อมมาลัย แม่ทรัพย์ ดับอิเหนา ตอนแก้สงสัย ชุดนี้ส่งด้วยพิณพาทย์แต่มิได้ระบุว่าเป็นวงดนตรีของใคร3.2 ตราสุนัขชุดที่ 2 หลวงเพราะสำเนียง หลวงกล่อมโกศล เพลงดับเรื่องขุนช้างขุนแผน ปี่พาทย์รับ จ่าสิบเอกขุนสำเนียงวิเวกวรเพลงเทพนิมิตร เตรวงทหารบก ขุนเสียงเสนาะกรรม หม่าห้าท่อน ปี่พาทย์พระยาประสานฯ นางท้วม ประสิทธิกุล ดับอิเหนา เครื่องสายฝรั่ง3.3 ตราสุนัขชุดที่ 3 นางเล็ก ศุขโสต ดับพระลอ ดับนเรศ เครื่องสาย ดับแม่ศรีทรงเครื่อง เครื่องสาย ขุนเสียงเสนาะกรรม ดับเขมรพระประทุม ขิมหีบเพลง หลวงเพราะสำเนียง ทยอยพนมเปญ 3 ชั้น แตรวงทหารบก หลวงกล่อมโกศล สาลิการชม เดือน 3 ชั้น แตรวงทหารบก ฯลฯ แผ่นเสียงตราสุนัขนี้อัดแผ่นขึ้นแล้วส่งไปทำที่เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย4. แผ่นเสียงตราฟาโลโฟน (Porlophone) แผ่นเสียงชุดนี้ครั้งแรกอัดที่ห้างสุธาดิลก เมื่อ พ.ศ. 2471 อยู่ที่ตึกที่ทำการของกรมโยธาธิการ เชิงสะพานผ่านฟ้าในปัจจุบัน เดิมดัดเสียงให้วงดนตรีคณะวังบางขุนพรหมก่อน มีหลายชุด อาทิ หม่อมเจริญ แขกมอญบางขุนพรหม (เถา) มโหรีวังบางขุนพรหม นางสาวทูน (คุณหญิงไพฑูรย์ กิติวรรณ ) นางสาวสะอาด อ๊อกกังวาล และ นางสาวฉิด อักษรทับ ขับร้องร่วมกันในเพลงดับกากี ดับมหาฤกษ์ ดับนางลอยต่อมาจึงอัดให้ กับวงดนตรีของหลวงประดิษฐ์ ไพเราะ คนร้องคือ คุณเยี่ยม รวมบัณฑิตสิทธิเศรณี แต่ใช้ชื่อว่า ปี่พาทย์วังบูรพาภิรมย์ โดยอัดแผ่นเสียงชุดเงาะป่า ตอนนางมือซังวังคอน ระยะนี้นาย ต. เง็กชวน ได้พยายามอัดแผ่นเสียงขึ้นแข่งขันกับต่างประเทศ โดยใช้ช่างจากห้างสุธาดิลกมาช่วยบ้าง เริ่มอัดได้ไม่นานก็สิ้นรัชกาลที่ 6 แต่ยังไม่ได้อัดด้วยไฟฟ้า แผ่นเสียงพาโลโฟนนี้มากมาย ทั้งที่เป็นเพลงไทยแท้และเพลงพื้นเมืองแผ่นเสียงในสมัยรัชกาลที่ 7แผ่น เสียงในสมัยรัชกาลที่ 7 จะอัดเสียงด้วยไฟฟ้า แผ่นเสียงยุคนี้จะมีคำโฆษณาไว้บนแผ่นเสียง ตัวโตชัดเจนว่าเสียงดังฟังชัด เพราะอัดด้วย เครื่องไฟฟ้า มีหลายชุด คือ1. แผ่นเสียงตราตึก (Odeon Record) ชุดนี้ อัดโดยห้างแผ่นเสียงใหญ่จากประเทศเยอรมนี แผ่นเสียงชุดนี้มีมาก คาดว่าอัดคราว พ.ศ. 2470– 71 โดยอัดที่บ้านนรสิงห์ (บ้านเจ้าพระยารามราฆพ หรือทำเรียบรัฐบาลปัจจุบัน) มีเพลงหลวงชุด เช่น- สังข์ศิลปชัย อัดตลอดเรื่อง 20 แผ่น หม่อมจันทร์และนางเชื้อ ชลเกตุ ร้องพิณพาทย์พระเพลงไพเราะ- คาวี ตั้งแต่บอกความสำคัญจนถึงขั้นหึง 20 แผ่น หลวงเสียงเสนาะกรรมณและหมื่นขับคำหวาน ขับร้องพิณพาทย์พระเพลงไพเราะ (ดึกดำบรรพ์)- อิเหนา ตัดดอกไม้ฉายกริช และบวงสรวงหลวงเสียงเสนาะกรรณ และหมื่นคำหวาน ขับร้อง พิณพาทย์พระเพลงไพเราะ- มณีพิชัย หม่อมจันทร์และนางรณภารพินิจขับร้อง 16 แผ่น มโหรีพระเพลงไพเราะ- อาหรับรัศมี สังข์ทอง ฯลฯ เดี่ยวขิม เพลงลาวแพน นายบุญธรรม (มนตรี) ตราโมท ฯลฯ2. แผ่นเสียงตรากรอบพักตร์สีทอง ของคณะนารีศรีสุมิตร์ แผ่นเสียงชุดนี้อัดกับบริษัท ต.เง็กชวน เมื่อปี 2472 เป็นของพระสุจริตสุดา พระสนมเอกในรัชกาลที่ 6 วงดนตรีเครื่องสายผสมเปียนโน มีคุณสุมิตรา สุจริต เป็นหัวหน้า นักร้องมีนางสาวประคอง พุ่มทองสุข นางสาวประเทือง ณ หนองหาร นางสาวแนบ เจตรานนท์ มีหลายเพลง อาทิ ดับวิวาห์พระสมุทร เครื่องสายผสมเปียนโน เพลงสุดาสวรรค์ (เถา) เครื่องสายผสมเปียนโนเดี่ยวเปียนโนเพลงพญาโศก เป็นต้น3. แผ่นเสียงเศรณี แผ่นเสียงชุดนี้เสียงดีที่สุด ในสมัยรัชกาลที่ 7 คุณภาพท่ากับแผ่นเสียงสมัยหลังสงคราม บริษัทที่อัดเสียงคือ Polyphone Werke A.G. Berlin แห่งประเทศเยอรมนี ห้างเยาวราชเป็นผู้จัดจำหน่าย นักร้องมีคนเดียวคือ คุณหญิงเยี่ยม รามบัณฑิตสิทธิเศรณี (สกุลเดิม ณ นคร) วงดนตรีที่เล่น มีวงเครื่องสายครูเจริญ แต่ยืนพื้นด้วยปี่พาทย์ของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) อัดแต่เพลงเกร็ดไม่มีเพลงดับเลย อาทิทยอยนอก 3 ชั้น จระเข้หางยาวโยค บุหลัน 3 ชั้น แขกมอญ 2 ชั้น จระเข้หางยาวปลาทอง 3 ชั้น เขมรปี่แก้วทางธรรมดา 3 ชั้น นาคเกี่ยว 2 ชั้น แขกลพบุรี 3 ชั้น แขกบรเทศ 2 ชั้น ลีลากระทุ่ม 2 ชุด พระอาทิตย์ชิงดวง4. แผ่นเสียงตรากระต่าย เป็นของนาย ต.เง็กชวน ทั้งหมดอัดโดยบริษัท ฟาโลโฟน แล้วใช้กระดาษตรากระต่ายปิดทับไว้ เริ่มมีการบันทึกเพลงพื้นบ้านมากขึ้น5. แผ่นเสียงของพระราชบัณฑิตยสภา ไม่มีเหลือถึงปัจจุบันเพราะภัยสงครามแผ่นเสียงสมัยรัชกาลที่ 8 และต้นรัชกาลที่ 9นับ ตั้งแต่ปี 2477 เป็นต้นมา ได้เข้าสู่ยุคการบันทึกเสียงเพลงไทยสากล มีบริษัทของคนไทยเกิดขึ้นมากมาย อาทิ แผ่นเสียงศรีกรุง แผ่นเสียงตราระฆังทอง ฯลฯ การบันทึกเสียงเพลงไทยเริ่มลดลงเป็นลำดับ คงเหลือแต่ห้างกมลศุโกศล และของนาย ต.เง็กชวน ที่ยังคงอัดเพลงไทยเดิม เมื่อมีการประกวด การขับร้องเพลงไทยในปี 2492 หลังจากนั้นได้มีการอัดแผ่นเสียงมากขึ้นอีก อาทิ เพลงกาเรียนทอง เพลงลาวลอดค่าย เพลงชมตลาดเพลงล่มลม (เถา) เทพทอง ดอกไม้ไทร จันแส ม้าย่อง บุลัน 2 ชั้น เขมรไทรโยค ปลาทอง 2 ชั้น ครอบจักรวาล ดับจูล่ง เสภาเรื่องกากี ลาวเจริญศรี ลาวดวงเดือน ลาวสวยรวย ลาวเคียง แขกสาหร่าย อกทะเล ฯลฯ เป็นแผ่นเสียงสปีด 78 ทั้งสิ้น เขียนโดย Khomsun Suthon ที่ 23:38

      เว็บไซด์ที่เกี่ยวกับเรื่องแผ่นเสียง

      แผ่นเสียงในสยาม

      https://www.finearts.go.th/promotion/view/35725-%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87--%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1-

bottom of page