top of page

Audacity

Audio แปลว่าการได้ยิน หรือ hearing มันก็คือเสียงครับ ทีนี้เสียงก็มีหลายแบบ ทั้งเสียง คน สัตว์ เครื่องจักร เสียงร้องเพลง

เสียงพูด หรือเสียงที่ได้จากการสังเคราะห์ขึ้นโดยเครื่องดนตรี  คุณสมบัติของเสียงนั้น ทางฟิสิกส์ เราถือว่าเสียงเป็นคลื่น (wave)

อันเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงความกดดันของอากาศจากการสั่นของแหล่งกำเนิด  (จำกันได้มั้ยเอ่ย)

เสียง มีคุณสมบัติสองสามอย่างที่สำคัญ ก็คือ  

- ความถี่  (frequency) เช่น เสียงสูงหรือเสียงต่ำ 

- ระดับความดัง  (Amplitude)  เช่น เสียง เบา - ค่อย - ดัง - ดังมาก - ดังมากๆ (อาจทำให้หูหนวกได้) 

แล้วก็ - รูปแบบของคลื่น (wave from)  ซึ่งมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดเสียงครับ  ตามรูปครับ  

 

 

ส่วน คำว่า "ดิจิทัล" มาจากภาษาละตินว่า  digit  มีความหมายว่า นิ้ว ซึ่งหมายถึงการนับนิ้วซึ่งเป็นค่าที่ไม่ต่อเนื่อง

เป็นระบบที่ใช้ค่าตัวเลข โดยเฉพาะเลขฐานสอง สำหรับการส่งผ่านข้อมูล ประมวลผล เก็บข้อมูล หรือการแสดงผล

โดยค่าในการจัดเก็บของดิจิทัลจะเก็บเป็นค่าใดค่าหนึ่งในระหว่างสองค่า คือ ค่า 1 (ค่าสัญญาณ) และ ค่า 0 (ค่าไม่มีสัญญาณ)

แตกต่างกับระบบ แอนะล็อก ที่ใช้ค่าต่อเนื่องของข้อมูลในการทำงาน ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดของระบบดิจิทัลและระบบ แอนะล็อก

สามารถกล่าวถึงได้จากการส่งผ่านข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูล.

คำว่าดิจิทัลมักจะใช้ในทางคอมพิวเตอร์ และทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำค่าใด ๆ เก็บเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์

หรืออิเล็กทรอนิกส์ในสื่อต่าง ๆ  และ  เมื่อเราบันทึกเสียง เข้าไปจัดเก็บในคอมพิวเตอร์ มันจึงเป็น Digital Audio ไปโดยปริยาย

( อธิบายอ้อมโลกไปนิด ก็เพื่อจะทบทวน นะครับ ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเสียง และ ดิจิตอล นั่นเอง )

1. ทำความรู้จักกับ Digital Audio

2. ทำความเข้าใจกับ Sampling rate, Bit rate

อธิบายยากหน่อยครับอันนี้ "Sampling rate, Bit rate" จะขออุปมาอุปมัยกับแตงกวาก็แล้วกันครับ สมมุติว่าเสียงความยาว 1 วินาทีท่อนหนึ่ง เป็นแตงกวาลูกหนึ่ง คราวนี้เราก็หั่นแตงกวาเป็นแว่นๆ ตามขวาง นี่คือการ Sampling แตงกวา ถ้าเราต้องการให้ แตงกวาดิจิตอลนี้รูปร่างเหมือนแตงกวาจริงมากเท่าไหร่ เราก็ต้องหั่นซอยให้ได้แว่นมากขึ้น Sampling rate ที่เค้าใช้ซอยเสียง ทั่วไปจะอยู่ที่ 22,44,96,128 KHz หรือมากกว่า ตัวอย่างเช่น 44 KHz ในหนึ่งวินาทีเสียงก็จะซอยออกเป็น สี่หมื่นสี่พันแว่นนั่นเอง สรุปคือ Sampling rate ที่สูงขึ้นจะทำให้เสียงมีความถี่ต่อเนื่องกันมากขึ้นนั่นเอง

คราวนี้ในแต่ละแว่น ก็จะมีรายละเอียดที่จะอธิบายว่า ในแว่นนั้นมีเสียงดังเบาเป็นอย่างไรบ้าง ยิ่งอธิบายระเอียดได้มากเท่าไหร่ก็จะเก็บ

รายละเอียดของเสียงได้มากเท่านั้น นี่คือ Bit rate นั่นเอง ปัจจุบันมีการเก็บรายละเอียดกันที่ 8 bit, 16 bit, 20bit, 24 bit, 

และ 32 bit  สรุปก็คือเสียง Bit rate ที่สูงขึ้น ก็ทำให้เสียงดิจิตอลมีคุณภาพมากใกล้เคียงกับเสียงต้นฉบับ ที่เป็นแอนาล็อกมากขึ้น

3. การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการบันทึกเสียง

1. เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีการติดตั้ง ซาวการ์ด หรือชิปประมวลผลด้านเสียงไว้  พร้อมลงไดรเว่อร์ ไว้ให้เป็นที่เรียบร้อย

 (ตรวจสอบ ง่ายๆเลย เครื่องคุณฟังเพลงได้มั้ย ถ้ายัง คงจะบันทึกเสียงไม่ได้แน่ รีบหาไดรเว่อร์มาลง ด่วน!) และที่สำคัญ

 เครื่องของท่าน ต้องมี ช่องต่อ 3 ช่องนี้  1. หูฟัง (หรือจะต่อ ออกลำโพงก็ได้ไม่ว่ากัน)  2. ไมค์ เอาไว้ อัดเสียงเราไง

 และ 3. Line in สำหรับนำเข้าเสียงจาก อุปกรณเล่นเสียงอื่นๆ เช่น เทปคลาสเซ็ต เครื่องเล่น mp3 ฯลฯ

2. ไมค์โครโฟน  เลือกซื้อเลือกหามาใช้ตามชอบเลยครับ จะเอารุ่นเล็กรุ่นใหญ่ ถูกแพง ไม่ว่ากัน ขอให้อัดเสียงเราได้ใสๆ
 ไพเราะ เพราะพริ้ง เป็นพอ  ได้ไมค์โครโฟนมาแล้วต่อสายที่ช่องเสียบไมค์เลยครับ.

3. ตั้งค่าให้ระบบคอมพิวเตอร์ ว่าจะบันทึกจากแหล่งเสียงไหน Line in หรือ Microphone  ขั้นตอนก็มีดังนี้ครับ


3.1) เริ่มจากการมองหาสัญลักษณ์นี้               ที่  Taskbar  ของวินโดวส์ และทำการ กดดับเบิ้่ลคลิ๊ิก  ครับซึ่งจะเกิด


เป็นหน้าต่างตามรูปด้านล่างนี้  ซึ่งเป็นส่วนของการปรับ Volume Control   

หน้าจอส่วนที่เห็นนี้ เป็นส่วนของ กับปรับสัญญาณ Playback ครับ หรือ การปรับเสียงที่ออกมาจากเครื่อง

ให้เราได้ยินกันนั่นเอง

3.2) ลำดับต่อไปก็เลือกกดที่เมนู options และเลือกที่ Properties แล้วปรับระดับต่างๆ ตามรูปเลยครับ

3.3) ทำการสลับมาปรับส่วนของการ Recording โดยเลือกกดที่ Recording แล้วเลือก การบันทึกเสียง

จากทุกแหล่งตามรูปครับ (อาจจะมีให้เลือก แตกต่างกันในบางเครื่องตามซาวการ์ดที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องครับ )

โดยหลักๆ ก็จะมี Stereo Mix , Line in , Microphone , ไมค์ด้านหลัง  เป็นต้น

3.4) ในรูปตัวอย่างด้านล่างนี้ ผมเลือกที่ ไมค์ด้านหลัง เพราะต่อสายสัญญาณไมค์ เข้ากับช่องต่อไมค์ด้านหลังไว้ครับ

เพียงเท่านี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราก็พร้อมจะรับเสียง อันแสนไพเราะ ของเราเข้าไปในเครื่องแล้วครับ

bottom of page